วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

http://tennisfive.blogspot.com/

การจับไม้เทนนิส

http://www.blogger.com/post-create.g?blogID=3412063367110861268

การจับไม้เทนนิสที่ถูกหลัก  จะทำให้การตีลูกมีประสิทธิภาพและแม่นยำ  การจับไม้เพื่อตีลูกในลักษณะต่างๆ  จะใช้ฐานนิ้วชี้ของมือข้างที่กำไม้ สัมผัสกับด้านต่างๆ ทั้งแปดของด้ามไม้เทนนิส เป็นตัวอ้างอิง  ซึ่งด้านทั้งแปดหรือที่เรียกว่า กริพ(GRIP) ได้แก่ ส่วนบน(Top), ส่วนล่าง(Bottom), ด้านขวา(Right side), ดัานซ้าย(Left side), Bevel 1(ด้านเอียงที่ 1), Bevel 2, Bevel 3 และ Bevel 4

"กริพที่คุณจับ จะขึ้นอยู่กับว่า คุณจะตีลูกแบบไหน"
โดยพื้นฐานแล้ว  จะแบ่งกริพเพื่อใช้ตีลูกในลักษณะต่างๆ ดังต่อไปนี้
  1. CONTINENTAL GRIP  คือ กริพเดียวที่สามารถใช้ได้กับการตีทั้งหมด  แต่ก็ไม่ใช่กริพที่นิยมฝึกกันในหมู่ผู้เล่นรุ่นใหม่ๆ เพราะหากเล่นแบบพลิกแพลงเทคนิคจะทำได้ไม่ดีเท่าใดนัก  อย่างไรก็ตาม Continental grip ยังคงเป็นพื้นฐานของการใช้เสิร์ฟ, การวอลเล่ย์, การ Smash หรือตีลูกเหนือศีรษะ, การตีลูกสไลด์  และการตีลูกเพื่อการป้องกัน
    การจับ:  จับด้ามไม้โดยให้ตำแหน่งของฐานนิ้วชี้อยู่บนด้านเอียงที่ 1 (bevel 1)  หรือ Bevel 4 สำหรับคนตีมือซ้าย
    ข้อดี:  ลูกที่ตีออกเป็นแบบ flat ที่พุ่งตรงและแรง  การช่วยในเกมส์รับได้ดี โดยเฉพาะจังหวะที่ต้องการความรวดเร็ว  เป็นกริพมาตรฐานที่ใช้ในการเสิร์ฟและการวอลเล่ย์ของนักเทนนิส
    ข้อเสีย:  เป็นเรื่องยากที่จะใช้ตีลูกแบบ topspin  นั่นหมายถึง การตีลูกที่ตำ่กว่าระดับเน็ตจะทำได้ไม่ดีเท่าไรนัก
  2. EASTERN FOREHAND GRIP
    การจับ:  จับด้ามไม้โดยให้ตำแหน่งของฐานนิ้วชี้อยู่บนด้านขวาของด้าม(right side)  หรือ Left side สำหรับคนตีมือซ้าย  วิธีง่ายๆ ที่ใช้หา Eastern Forehand Grip  คือ ให้ทาบฝ่ามือข้างที่ใช้ตีลงบนหน้าไม้เทนนิส(บนหน้าเอ็น)  แล้วรูดฝ่ามือลงมาหาด้ามไม้ที่จับ  จะพบว่าฐานของนิ้วชี้จะตรงกับตำแหน่งของ Eastern forehand grip
    ข้อดี:  อาจจะเรียกได้ว่าเป็นกริพที่ง่ายที่สุดสำหรับการตีลูกโฟแฮนด์  การตีลูกได้ทั้งแบบ topspin หรือแบบ flat  การเปลี่ยนจาก Eastern forehand grip ไปเป็นกริพอื่นๆ ทำได้สะดวกรวดเร็ว  ทำให้เป็นทางเลือกที่ฉลาดของผู้เล่นที่นิยมขึ้นตีหน้าเน็ต
    ข้อเสีย:  จุดตีจะกว้างออกไปมากกว่า Continental grip  การตีลูกสูงทำได้ไม่ดีเท่าไรนัก  และลูกที่ตีมีแนวโน้มทีจะเป็น flat มากกว่า  ลูกจะติด topspin ได้ไม่เต็มที่
  3. SEMI-WESTERN FOREHAND GRIP
    การจับ:  จาก Eastern forehand grip ให้หมุนข้อมือในทิศทางตามเข็มนาฬิกามาอีก 1 ช่อง(bevel)  สำหรับคนตีซ้าย ให้หมุนทวนเข็มนาฬิกา
    ข้อดี:  การตีลูกแบบ topspin ทำได้ดีกว่ากริพที่ผ่านมา  ซึ่งทำให้ลูกมีโอกาสโค้งผ่านหน้าเน็ตมากกว่า
    ข้อเสีย
    :  มักประสบกับปัญหากับการตีลูกที่ต่ำและใกล้ตัว
  4. WESTERN FOREHAND GRIP  คือ  กริพสุดท้าย(สุดโต่ง) ของการตีลูกโฟร์แฮนด์  นิยมใช้กันในหมู่ผู้เล่นบนคอร์ดดิน และเยาวชนรุ่นใหม่ๆ  นักเทนนิสมืออาชีพที่ใช้ เช่น  Rafael Nadal
    การจับ:  จาก Semi-Western forehand grip  ให้หมุนข้อมือในทิศทางตามเข็มนาฬิกามาอีก 1 ช่อง(bevel)  สำหรับคนตีซ้ายให้หมุนในทิศทางตรงกันข้าม
    ข้อดี: แรงจากการตวัดข้อมือที่จับโดยกริพนี้  จะติด topspin ได้รุนแรงที่สุด  ลูกที่กระทบพื้นจะกระดอนออกต่อค่อนข้างแรง  มีโอกาสให้ฝ่ายตรงข้ามต้ิองถอยกลับไปตั้งรับหลังเส้นลึกขึ้น
    ข้อเสีย:  ลูกบอลจากฝั่งตรงข้ามที่ตีมากระทบพื้นแล้วกระดอนต่ำและเร็ว(โดยเฉพาะบนฮาร์ดคอร์ต)  เป็นอุสรรคต่อผู้่เล่นที่จับกริพนี้เป็นอย่างมาก  ด้วยเหตุผลที่ว่า ผู้เล่นต้องใช้ความรวดเร็วในการสโตรค(stroke) บวกกับกำลังข้อมือมหาศาล  ในการตีบอลที่จุดกระทบและ topspin ให้ทัน
  5. EASTERN BACKHAND GRIP
    การจับ:  วางฐานของนิ้่วชี้ที่ส่วนบนสุดของกริพ(top)
    ข้อดี:  เป็นกริพอเนกประสงค์ของการตีลูกแบคแฮนด์  ผู้เล่นบางคนใช้ตีลูกสไลด์ หรือไม่เช่นนั้นก็สามารถพลิกไปเป็น Continental grip ได้อย่างรวดเร็ว  Eastern backhand grip ยังใช้เป็นกริพสำหรับการเสิร์ฟแบบ Kick serves
    ข้อเสีย:  การตีลูกที่พุ่งมาสูงกว่าระดับไหล่ทำได้ไม่ค่อยดีนัก  บ่อยครั้งที่ทำให้ผู้เล่นต้องตีลูกแบบสไลด์กลับไปโดยบังคับ  รวมไปถึงจุดอ่อนของ Kick serves  ที่ฝั่งตรงข้ามมักจะรีเทิร์นลูกกลับมาในช่วงจุดตีที่สูงกว่าระดับไหล่
  6. EXTREME EASTERN OR SEMI-WESTERN BACKHAND GRIP
    การจับ:  ที่ bevel 4 สำหรับมือขวา  หรือ bevel 1 สำหรับมือซ้าย
    ข้อดี:  จุดที่ขยายออกไป  ทำให้การตีลูกที่สูงกว่าระดับไหล่ทำได้คล่องกว่ากริพแบคแฮนด์ที่ผ่านมา รวมถึงการ topspin
    ข้อเสีย:  คล้ายกันกับการจับ Weatern forehand grip  ตรงที่ตีลูกต่ำได้ไม่ค่อยดี
  7. TWO-HAND BACKHAND GRIP
    การจับ:  วิธีจับสำหรับการตีลูกแบคแฮนด์สองมือวิธีหนึ่ง  คือ ใช้มือขวาจับไม้ที่ Continental grip ช่วงด้านบน  และมือซ้ายจับไม้ที่ Semi-Western forehand grip ช่วงด้านล่าง(สำหรับคนถนัดซ้ายให้จับตรงกันข้ามกัน)
    ข้อดี:  เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนที่ไม่แข็งแรงพอที่จะตีแบคแฮนด์มือเดียว  สามารถตีลูกพุ่งต่ำได้ดี รวมถึงการตีลูกระดับไหล่ที่ใช้ทั้งสองมือประคองช่วยกัน
    ข้อเสีย:  ช่วงตีสั้นกว่าการตีแบคแฮนด์มีเดียว  การมีมือข้างที่สองช่วยประคองเป็นการล็อคหน้าไม้ไว้ ทำให้ไม่สามารถตีลูกวอลเลย์และลูกสไลด์ได้

การเลือกจับด้านกริพ  ให้คำนึงถึงธรรมชาติในตัวคุณ(คุณเป็นผู้รู้ตัวดีที่สุด)  หาด้านกริพที่ทำให้คุณรู้สึกสบายและเข้ากับตัวคุณมากที่สุดเวลาเล่น  นั่นแหละคือกริพของคุณ


0 ความคิดเห็น
ประเภทการตีลูกเทนนิส  แบ่งออกเป็น  8 ชนิด หลักๆ ดังนี้
  1. การตีลูกโฟรแฮนด์ (Forehand Shot)
  2. การตีลูกแบคแฮนด์ (Backhand Shot)
  3. การเสิร์ฟ (Tennis Serve)
  4. การตีลูกวอลเล่ย์ (Volleying)
  5. การตีลูกแบบ Smash
  6. การตีลูกแบบ Lob
  7. การตี Drop shot
  8. Hit it Through your legs(การตีลอดหว่างขา)
การมีทักษะในการตีลูกแต่ละประเภท จะทำให้ผู้เล่นเทนนิสมีความคล่องตัว และมีความหลากหลายในการเล่นทั้งการรุกและรับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น