วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ผลงาน ...ขุน 53



ผลงาน ปี 2553 ได้รองชนะเลิศ
รายการกระแสร์ มีนบุรี 25 - 26 ธันวาคม  2553

วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การเลือกไม้เทนนิส

http://www.bkpsport.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538725170&Ntype=3

http://tennisfive.blogspot.com/

การจับไม้เทนนิส

http://www.blogger.com/post-create.g?blogID=3412063367110861268

การจับไม้เทนนิสที่ถูกหลัก  จะทำให้การตีลูกมีประสิทธิภาพและแม่นยำ  การจับไม้เพื่อตีลูกในลักษณะต่างๆ  จะใช้ฐานนิ้วชี้ของมือข้างที่กำไม้ สัมผัสกับด้านต่างๆ ทั้งแปดของด้ามไม้เทนนิส เป็นตัวอ้างอิง  ซึ่งด้านทั้งแปดหรือที่เรียกว่า กริพ(GRIP) ได้แก่ ส่วนบน(Top), ส่วนล่าง(Bottom), ด้านขวา(Right side), ดัานซ้าย(Left side), Bevel 1(ด้านเอียงที่ 1), Bevel 2, Bevel 3 และ Bevel 4

"กริพที่คุณจับ จะขึ้นอยู่กับว่า คุณจะตีลูกแบบไหน"
โดยพื้นฐานแล้ว  จะแบ่งกริพเพื่อใช้ตีลูกในลักษณะต่างๆ ดังต่อไปนี้
  1. CONTINENTAL GRIP  คือ กริพเดียวที่สามารถใช้ได้กับการตีทั้งหมด  แต่ก็ไม่ใช่กริพที่นิยมฝึกกันในหมู่ผู้เล่นรุ่นใหม่ๆ เพราะหากเล่นแบบพลิกแพลงเทคนิคจะทำได้ไม่ดีเท่าใดนัก  อย่างไรก็ตาม Continental grip ยังคงเป็นพื้นฐานของการใช้เสิร์ฟ, การวอลเล่ย์, การ Smash หรือตีลูกเหนือศีรษะ, การตีลูกสไลด์  และการตีลูกเพื่อการป้องกัน
    การจับ:  จับด้ามไม้โดยให้ตำแหน่งของฐานนิ้วชี้อยู่บนด้านเอียงที่ 1 (bevel 1)  หรือ Bevel 4 สำหรับคนตีมือซ้าย
    ข้อดี:  ลูกที่ตีออกเป็นแบบ flat ที่พุ่งตรงและแรง  การช่วยในเกมส์รับได้ดี โดยเฉพาะจังหวะที่ต้องการความรวดเร็ว  เป็นกริพมาตรฐานที่ใช้ในการเสิร์ฟและการวอลเล่ย์ของนักเทนนิส
    ข้อเสีย:  เป็นเรื่องยากที่จะใช้ตีลูกแบบ topspin  นั่นหมายถึง การตีลูกที่ตำ่กว่าระดับเน็ตจะทำได้ไม่ดีเท่าไรนัก
  2. EASTERN FOREHAND GRIP
    การจับ:  จับด้ามไม้โดยให้ตำแหน่งของฐานนิ้วชี้อยู่บนด้านขวาของด้าม(right side)  หรือ Left side สำหรับคนตีมือซ้าย  วิธีง่ายๆ ที่ใช้หา Eastern Forehand Grip  คือ ให้ทาบฝ่ามือข้างที่ใช้ตีลงบนหน้าไม้เทนนิส(บนหน้าเอ็น)  แล้วรูดฝ่ามือลงมาหาด้ามไม้ที่จับ  จะพบว่าฐานของนิ้วชี้จะตรงกับตำแหน่งของ Eastern forehand grip
    ข้อดี:  อาจจะเรียกได้ว่าเป็นกริพที่ง่ายที่สุดสำหรับการตีลูกโฟแฮนด์  การตีลูกได้ทั้งแบบ topspin หรือแบบ flat  การเปลี่ยนจาก Eastern forehand grip ไปเป็นกริพอื่นๆ ทำได้สะดวกรวดเร็ว  ทำให้เป็นทางเลือกที่ฉลาดของผู้เล่นที่นิยมขึ้นตีหน้าเน็ต
    ข้อเสีย:  จุดตีจะกว้างออกไปมากกว่า Continental grip  การตีลูกสูงทำได้ไม่ดีเท่าไรนัก  และลูกที่ตีมีแนวโน้มทีจะเป็น flat มากกว่า  ลูกจะติด topspin ได้ไม่เต็มที่
  3. SEMI-WESTERN FOREHAND GRIP
    การจับ:  จาก Eastern forehand grip ให้หมุนข้อมือในทิศทางตามเข็มนาฬิกามาอีก 1 ช่อง(bevel)  สำหรับคนตีซ้าย ให้หมุนทวนเข็มนาฬิกา
    ข้อดี:  การตีลูกแบบ topspin ทำได้ดีกว่ากริพที่ผ่านมา  ซึ่งทำให้ลูกมีโอกาสโค้งผ่านหน้าเน็ตมากกว่า
    ข้อเสีย
    :  มักประสบกับปัญหากับการตีลูกที่ต่ำและใกล้ตัว
  4. WESTERN FOREHAND GRIP  คือ  กริพสุดท้าย(สุดโต่ง) ของการตีลูกโฟร์แฮนด์  นิยมใช้กันในหมู่ผู้เล่นบนคอร์ดดิน และเยาวชนรุ่นใหม่ๆ  นักเทนนิสมืออาชีพที่ใช้ เช่น  Rafael Nadal
    การจับ:  จาก Semi-Western forehand grip  ให้หมุนข้อมือในทิศทางตามเข็มนาฬิกามาอีก 1 ช่อง(bevel)  สำหรับคนตีซ้ายให้หมุนในทิศทางตรงกันข้าม
    ข้อดี: แรงจากการตวัดข้อมือที่จับโดยกริพนี้  จะติด topspin ได้รุนแรงที่สุด  ลูกที่กระทบพื้นจะกระดอนออกต่อค่อนข้างแรง  มีโอกาสให้ฝ่ายตรงข้ามต้ิองถอยกลับไปตั้งรับหลังเส้นลึกขึ้น
    ข้อเสีย:  ลูกบอลจากฝั่งตรงข้ามที่ตีมากระทบพื้นแล้วกระดอนต่ำและเร็ว(โดยเฉพาะบนฮาร์ดคอร์ต)  เป็นอุสรรคต่อผู้่เล่นที่จับกริพนี้เป็นอย่างมาก  ด้วยเหตุผลที่ว่า ผู้เล่นต้องใช้ความรวดเร็วในการสโตรค(stroke) บวกกับกำลังข้อมือมหาศาล  ในการตีบอลที่จุดกระทบและ topspin ให้ทัน
  5. EASTERN BACKHAND GRIP
    การจับ:  วางฐานของนิ้่วชี้ที่ส่วนบนสุดของกริพ(top)
    ข้อดี:  เป็นกริพอเนกประสงค์ของการตีลูกแบคแฮนด์  ผู้เล่นบางคนใช้ตีลูกสไลด์ หรือไม่เช่นนั้นก็สามารถพลิกไปเป็น Continental grip ได้อย่างรวดเร็ว  Eastern backhand grip ยังใช้เป็นกริพสำหรับการเสิร์ฟแบบ Kick serves
    ข้อเสีย:  การตีลูกที่พุ่งมาสูงกว่าระดับไหล่ทำได้ไม่ค่อยดีนัก  บ่อยครั้งที่ทำให้ผู้เล่นต้องตีลูกแบบสไลด์กลับไปโดยบังคับ  รวมไปถึงจุดอ่อนของ Kick serves  ที่ฝั่งตรงข้ามมักจะรีเทิร์นลูกกลับมาในช่วงจุดตีที่สูงกว่าระดับไหล่
  6. EXTREME EASTERN OR SEMI-WESTERN BACKHAND GRIP
    การจับ:  ที่ bevel 4 สำหรับมือขวา  หรือ bevel 1 สำหรับมือซ้าย
    ข้อดี:  จุดที่ขยายออกไป  ทำให้การตีลูกที่สูงกว่าระดับไหล่ทำได้คล่องกว่ากริพแบคแฮนด์ที่ผ่านมา รวมถึงการ topspin
    ข้อเสีย:  คล้ายกันกับการจับ Weatern forehand grip  ตรงที่ตีลูกต่ำได้ไม่ค่อยดี
  7. TWO-HAND BACKHAND GRIP
    การจับ:  วิธีจับสำหรับการตีลูกแบคแฮนด์สองมือวิธีหนึ่ง  คือ ใช้มือขวาจับไม้ที่ Continental grip ช่วงด้านบน  และมือซ้ายจับไม้ที่ Semi-Western forehand grip ช่วงด้านล่าง(สำหรับคนถนัดซ้ายให้จับตรงกันข้ามกัน)
    ข้อดี:  เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนที่ไม่แข็งแรงพอที่จะตีแบคแฮนด์มือเดียว  สามารถตีลูกพุ่งต่ำได้ดี รวมถึงการตีลูกระดับไหล่ที่ใช้ทั้งสองมือประคองช่วยกัน
    ข้อเสีย:  ช่วงตีสั้นกว่าการตีแบคแฮนด์มีเดียว  การมีมือข้างที่สองช่วยประคองเป็นการล็อคหน้าไม้ไว้ ทำให้ไม่สามารถตีลูกวอลเลย์และลูกสไลด์ได้

การเลือกจับด้านกริพ  ให้คำนึงถึงธรรมชาติในตัวคุณ(คุณเป็นผู้รู้ตัวดีที่สุด)  หาด้านกริพที่ทำให้คุณรู้สึกสบายและเข้ากับตัวคุณมากที่สุดเวลาเล่น  นั่นแหละคือกริพของคุณ


0 ความคิดเห็น
ประเภทการตีลูกเทนนิส  แบ่งออกเป็น  8 ชนิด หลักๆ ดังนี้
  1. การตีลูกโฟรแฮนด์ (Forehand Shot)
  2. การตีลูกแบคแฮนด์ (Backhand Shot)
  3. การเสิร์ฟ (Tennis Serve)
  4. การตีลูกวอลเล่ย์ (Volleying)
  5. การตีลูกแบบ Smash
  6. การตีลูกแบบ Lob
  7. การตี Drop shot
  8. Hit it Through your legs(การตีลอดหว่างขา)
การมีทักษะในการตีลูกแต่ละประเภท จะทำให้ผู้เล่นเทนนิสมีความคล่องตัว และมีความหลากหลายในการเล่นทั้งการรุกและรับ


http://www.thaitennismagazine.com/TennisTips/TennisTipsIndex.php


Tennis Tipsบทความเกี่ยวกับเทนนิส | เทคนิคการเล่นเทนนิส | กฎกติกาเกี่ยวกับเทนนิส | ค้นหาบทความ
บทความ
ผู้เขียน
ประเภท
Update
ยุทธการเล่นคู่ (7927)
เบ็ญจ์ - จิตตภาวดี
เทคนิคการเล่นเทนนิส
2003-06-05
ทีมในฝันของฟิช (1845)
นาตาลี
บทความเกี่ยวกับเทนนิส
2003-04-13
คะแนนสะสมแม็กกาซีนจูเนียร์ทัวร์เพื่ออะไร (3394)
ทิพวรรณ นาจาน
บทความเกี่ยวกับเทนนิส
2003-03-26
Short Set (3781)
ทิพวรรณ นาจาน
กฎกติกาเกี่ยวกับเทนนิส
2003-02-27
เมนดรอว์ คัดเลือก สิทธิพิเศษ คืออะไร (3359)
ทิพวรรณ นาจาน
กฎกติกาเกี่ยวกับเทนนิส
2003-02-24
จะเลือกใช้ไม้เทนนิสอย่างไรดี (10418)
นิตยสารเทนนิส
เทคนิคการเล่นเทนนิส
2002-11-23
ค่านิยมสังคมเทนนิส (4422)
นิตยสารเทนนิส
บทความเกี่ยวกับเทนนิส
2002-11-23
หลอบวอลเลย์ (5374)
นิตยสารเทนนิส
เทคนิคการเล่นเทนนิส
2002-11-22
อยากลงแข่งกะเขาบ้างแต่ไม่รู้อะไรเลย (4293)
นิตยสารเทนนิส
บทความเกี่ยวกับเทนนิส
2002-11-22
วอลเลย์ในระดับสูง-วอลเลย์ลูกระดับต่ำและฮาล์ฟวอลเลย์ (7077)
นิตยสารเทนนิส
เทคนิคการเล่นเทนนิส
2002-11-22
น้ำหนึ่งแก้วทำให้เสิร์ฟดีขึ้น (6604)
นิตยสารเทนนิส
เทคนิคการเล่นเทนนิส
2002-11-22
แอนดี รอดดิก ทายาทอเมริกันคนต่อไป (2519)
นาตาลี
บทความเกี่ยวกับเทนนิส
2002-08-30
เมื่อไรที่ควรเปลี่ยนเกมการเล่น (4796)
นิตยสารเทนนิส
เทคนิคการเล่นเทนนิส
2002-08-30
เล่นเทนนิสอย่างไรให้ดีขึ้น (11321)
นิตยสารเทนนิส
เทคนิคการเล่นเทนนิส
2002-08-30
Mini Tennis Thailand (2452)
นาตาลี
บทความเกี่ยวกับเทนนิส
2002-05-10
เอ็นขาดระหว่างการเสิร์ฟ (3640)
ทิพวรรณ นาจาน
กฎกติกาเกี่ยวกับเทนนิส
2002-04-10
กติกาน่ารู้ (7480)
ทิพวรรณ นาจาน
กฎกติกาเกี่ยวกับเทนนิส
2001-11-10
เสริฟเสีย (5340)
ทิพวรรณ นาจาน
กฎกติกาเกี่ยวกับเทนนิส
2001-10-10
มุมส่วนตัวของนักเทนนิสชายระดับโลก (4291)
นิตยสารเทนนิส
บทความเกี่ยวกับเทนนิส
2001-03-30
มุมส่วนตัวของนักเทนนิสหญิงดังระดับโลก (3327)
นิตยสารเทนนิส
บทความเกี่ยวกับเทนนิส
2001-03-30
ความสำเร็จของพี่น้องตระกูลวิลเลียมส์จะช่วยสร้างประวัติการณ์ทางกีฬา (2480)
นิตยสารเทนนิส
บทความเกี่ยวกับเทนนิส
2001-04-10

บทความเกี่ยวกับเทนนิส | เทคนิคการเล่นเทนนิส | กฎกติกาเกี่ยวกับเทนนิส | ค้นหาบทความ
http://www.blogger.com/post-create.g?blogID=3412063367110861268

การเปลี่ยนเกมการเล่น


เมื่อไรที่ควรเปลี่ยนเกมการเล่น ไม่เคยมีใครรู้สึกดีเวลาที่ยุทธวิธีเล่นเริ่มแรกของตนกำลังสั่นคลอน ขณะที่คู่ต่อสู้เป็นฝ่ายคุมเซ็ตแรกเสียอยู่หมัด นักเทนนิสส่วนใหญ่จะรู้สึกหวั่นไหวและหมดกำลังใจตรงนี้ แต่จริง ๆ แล้วเป็นช่วงที่เราควรจะมองในแง่ดีเสียมากกว่า หลักสำคัญในการแข่งเทนนิสก็คือการหาวิธีโต้ตอบคู่ต่อสู้ให้ได้ ถ้าเรายังอยากคุมอารมณ์ให้ได้ ในตอนนั้นก็ควรสังเกตดูว่าทำไมเราจึงยังเสียแต้มอยู่อย่างนี้ และอย่ายอมแพ้เด็ดขาด
ก่อนที่จะตัดสินใจเปลี่ยนยุทธวิธีการเล่นขณะแข่งขันที่รูปการปรากฏออกมาว่าเรากำลังจะแพ้แน่ ๆ เราควรจะมั่นใจเสียก่อนว่าปัญหาที่แท้จริงอยู่ที่ยุทธวิธีการเล่น ไม่ใช่ปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับเกมของเรา เพราะฉะนั้นหากเรากำลังอยู่ในสถานการณ์คับขัน ให้ถามตัวเอง 3 ข้อต่อไปนี้

1. จิตใจของเรามั่นคงดีหรือไม่
ถ้าทัศนคติและสมาธิของเรากำลังย่ำแย่อยู่ในขณะนั้น ไม่ว่าจะเปลี่ยนยุทธวิธีการเล่นอย่างไรก็คงจะไม่ได้ผลอย่างแน่นอน ดังนั้นควรจะเน้นควบคุมปรับปรุงทางด้านจิตใจ และคงเล่นยุทธวิธีเดิมต่อไป

2. เราวอร์มอัพและจดจ่ออยู่กับการแข่งขันอย่างเต็มที่หรือยัง
ถ้าเราเริ่มแมตช์ด้วยการพลาดเองอย่างง่าย ๆ เป็นส่วนใหญ่ ก็อาจเป็นได้ว่าเครื่องเรายังไม่ติดและยังไม่ทันตั้งตัว เราอาจพบว่าแมตช์กำลังจะพลิกเกมตอนที่เราเริ่มเหงื่อออกแล้ว ถ้าเป็นอย่างนั้นก็ให้หาจังหวะของเราและเริ่มปฏิบัติการอย่างเต็มที่ได้เลย

3. คู่ต่อสู้เรากำลังฮอตแบบชั่วคราวหรือเปล่า
อย่าเร่งเปลี่ยนเกมการเล่นเพียงเพราะว่าคู่ต่อสู้ของเราเริ่มต้นแมตช์ได้สวยด้วยการอาศัยโชคเพียงไม่กี่ช็อต ถ้าเรารู้จุดอ่อนของคู่ต่อสู้แล้วก็อย่าปล่อยให้ลูกวินเนอร์เหล่านั้นมาขัดขวางให้เราลังเลในการโจมตีจุดอ่อนของเขา

หากเราลองสังเกตดูแล้วปรากฏว่าไม่เข้าข่ายในสามข้อข้างต้นเลย ก็อาจถึงเวลาแล้วที่ควรปรับยุทธวิธีการเล่น อย่างไรก็ตามควรพิจารณาถึงข้อแนะนำต่อไปนี้
*ควรให้โอกาสกับยุทธวิธีดั้งเดิมของเราเสมอ
ถ้าคู่ต่อสู้สามารถหาทางโต้ตอบยุทธวิธีของเราตอนต้นแมตช์ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเขาคงจะฮอตอยู่แค่ไม่กี่เกม แต่ในที่สุดความเป็นจริงก็จะเริ่มขึ้น และยุทธวิธีของเราก็เริ่มได้ผล บ่อยครั้งหากเราเครียดกับจุดอ่อน คู่ต่อสู้ก็จะจู่โจมทำแต้ม ให้ยึดทัศนะนี้ไว้ตลอดเซ็ตที่หนึ่ง ถ้าเราเสียเซ็ตแรก ทีนี้ก็ถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนเกมการเล่นแล้ว
ทัศนะอันนี้ทำให้แพทริค ราฟเตอร์ สามาถเข้าถึงรอบรองฯเฟร้นโอเพน และคว้าแชมป์ยูเอสโอเพน ในปีค.ศ. 1997 เขายึดติดอยู่กับแผนการเล่นในการเสริฟและขึ้นวอลเลย์ ไม่หวั่นไหวเปลี่ยนไปยึดเกมท้ายคอร์ตเพียงเพราะคู่ต่อสู้ของเขาตีพาสซิงช็อตอันงดงามมาเพียงไม่กี่ลูก

*อย่าเปลี่ยนยุทธวิธีจนต่างจากจุดที่ตัวเองถนัดอย่างสิ้นเชิง
อย่าลืมตัวว่าเกมการเล่นแบบไหนที่เราถนัด ถ้าเราถนัดเล่นท้ายคอร์ต และไม่เก่งหน้าเน็ตเอาเสียเลย ก็ไม่ต้องเปลี่ยนถึงขั้นเสิร์ฟวอลเลย์ในทุก ๆ แต้ม

*เก็บเอาเงื่อนไขรอบ ๆ ตัวมาพิจารณาด้วย
ถ้าอากาศร้อนมาก โดยเราคาดว่าจะต้องอ่อนแรงอย่างแน่นอนหากแรลลีกันนาน ๆ ก็ให้วางแผนเล่นอย่างชาญฉลาด เช่น ชิพแอนด์ชาร์ตทุกจังหวะที่เรามีโอกาส เพื่อให้แต่ละแต้มกินเวลาน้อยลง

*เตรียมแผนสำรองไว้มากกว่าหนึ่ง
การเปลี่ยนยุทธวิธีระหว่างการแข่งขันจะง่ายขึ้น หากเราเตรียมคิดถึงวิธีพิชิตคู่ต่อสู้มามากกว่าหนึ่ง นี่ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ว่าทำไมการเล่นเกมได้อย่างสมบูรณ์จึงได้เปรียบ พีท แซมปราส เป็นผู้เล่นคนหนึ่งที่เอาชนะได้ยากก็เพราะเขาสามารถเอาชนะคู่ต่อสู้ได้ไม่ว่าจะด้วยการเสิร์ฟ-วอลเลย์หรือปักหลักท้ายคอร์ต

*ต้องมั่นใจว่าทัศนะและความเอาจริงของเรายังมั่นคงไม่เปลี่ยนแปลงไปตามยุทธวิธีเ
หากเราหวั่นไหวโอดครวญไปกับการเปลี่ยนยุทธวิธี คู่ต่อสู้เราก็จะเป็นฝ่ายได้เปรียบ ในทางกลับกัน หากเราสนุกไปกับเกมการเล่นใหม่นี้ ก็จะเป็นการทำลายคู่ต่อสู้แทน อีกประการหนึ่งที่สำคัญ ถ้าเราไม่ทุ่มเทจิตใจและวิญญาณให้กับการแข่งขัน ความสามารถในตัวของเราก็จะไม่ปรากฏออกมา

หากเราต้องการชัยชนะในการแข่งขันเทนนิส ก็ต้องรู้จักการปรับเล็กน้อยสำหรับยุทธวิธีการเล่นดั้งเดิมของเรา อย่าเปลี่ยนเกมการเล่นเร็วจนเกินไป และอย่าเสี่ยงเล่นในรูปแบบที่เราไม่ถนัด ถ้าทำได้ตามนี้เราก็จะค้นพบว่าเป็นการน่าพึงพอใจแค่ไหนในการเปลี่ยนแผนการเดิม เพื่อกลับมาเป็นฝ่ายคุมเกมและชนะการแข่งขันในที่สุด


บทความโดย : นิตยสารเทนนิส

วงสนทนาของเทนนิส


ค่านิยมสังคมเทนนิส แน่นอนว่าเวลาเราอยู่ในสังคมใดก็ตาม หากไม่รู้จักปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นก็อาจถูกจัดให้อยู่ในข่ายของบุคคลไม่พึงประสงค์ได้ ต่อไปนี้เป็นมารยาทในการเล่นและแข่งขันเทนนิสเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เรานำมาฝาก จะได้ไม่ถูกแบนด์จากสังคมคนรักเทนนิส 1. อย่าพยายามพูดถึงข้อเสียในการตีลูกโฟรแฮนด์หรือแบคแฮนด์ของผู้ที่เล่นกับท่าน โดยที่เขาไม่ได้ถาม
2. อย่าพยายามพูดถึงชัยชนะของตนเองบ่อย ๆ ในวงสนทนา
3. อย่าคุยกับผู้ชนะว่า ท่านก็รู้จุดอ่อนของคู่ต่อสู้ของเขาเหมือนกัน
4. เวลาเล่นคู่กับคนที่เก่งกว่าท่าน อย่าแย่งเล่นคอร์ตแบคแฮนด์ นอกจากท่านถนัดมือซ้าย
5. เวลาหมดเกมคู่ อย่าหยุดกินน้ำหรือถ่วงเวลาการแข่งขัน
6. อย่าเดินทอดน่องผ่านหลังคอร์ตในขณะที่เขากำลังเล่นหรือแข่งขันอยู่
7. อย่าเล่นแต่เฉพาะกับมือดี ๆ เท่านั้น บางครั้งควรให้โอกาสแก่สุภาพสตรี เด็ก หรือมือที่อ่อนกว่าเล่นด้วยบ้าง
8. ถ้าคอร์ตอื่นมี 4 คนอยู่แล้ว คอร์ตท่านขาดคน อย่าพยายามไปตื๊อเขามา
9. เทนนิสเป็นเกมที่มีความสง่าและงดงาม ฉะนั้นอย่าลงไปในคอร์ตด้วยเสื้อผ้าที่เปื้อนเปรอะสกปรกหรือไม่เหมาะสม
10. ต่อหน้าแขก อย่าพยายามวิจารณ์ผู้เล่นที่มีชื่อเสียงให้เขาฟัง
11. อย่าออกความเห็นเกี่ยวกับลูกที่เราตีไปฝั่งตรงข้ามว่าดีหรือออก
12. อย่าพยายามพูดวิจารณ์เกมกับผู้แพ้ ถ้าเขาไม่ได้ถาม
13. เวลาพาร์ทเนอร์ตีไม่ดี อย่าซ้ำเติม เพราะทุกคนล้วนอยากเล่นให้ดีที่สุดกันทั้งนั้น 14. อย่าเล่นฟรี โดยไม่ยอมเสียค่าบำรุงให้แก่สมาคมหรือสโมสรนั้น ๆ ตามระเบียบ

บทความโดย : นิตยสารเทนนิส

การเลือกไม้เทนนิส


จะเลือกใช้ไม้เทนนิสอย่างไรดี

การเลือกใช้ไม้เทนนิสให้เหมาะสมกับตัวเองมีความสำคัญมาก ไม้เทนนิสยี่ห้อหนึ่งอาจจะเหมาะสมกับคนหนึ่ง แต่อาจจะไม่เหมาะสมสำหรับอีกคนก็ได้ หลักการเลือกแรคเก็ตที่สำคัญที่สุดควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ คือ น้ำหนัก ขนาดของด้ามจับ น้ำหนักสมดุลย์ระหว่างหัวไม้กับด้ามจับ ชนิดของเอ็นและสีสัน ความแข็งกระด้างและความมีสปริงของไม้
น้ำหนักของไม้ จำเป็นที่ผู้ใช้จะต้องตัดสินใจในการเลือกซื้อให้ดี ให้มีความเหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด ไม่ใช่ใช้ไม้หนักเกินไปหรือเบาเกินไป อนึ่ง เราควรจะคิดถึงกำลังของตนเองด้วยว่าจะคอนน้ำหนักไปได้แค่ไหน เพราะบางทีในการเล่นเกมแรก ๆ ไม้ก็ยังเหมาะมือดีอยู่ แต่พอไปเกมหลัง ๆ ไม้ที่ใช้ชักหนักขึ้นทุกที ๆ เหล่านี้เป็นต้น ขนาดของด้ามจับควรกระชับฝ่ามือให้มีความถนัดในการจับมากที่สุด ไม่ควรใหญ่เกินไปหรือเล็กเกินไป การเลือกใช้ด้ามจับที่ตนเองไม่ถนัดมีส่วนในการที่ทำให้เล่นเทนนิสได้ไม่ดีเท่าที่ควรเช่นกัน
น้ำหนักสมดุลย์ระหว่างหัวไม้กับด้ามจับ ไม้เทนนิสแต่ละยี่ห้อจะมีความสมดุลย์ในเรื่องเหล่านี้แตกต่างกันไป อย่างเช่นไม้ยี่ห้อหนึ่งหนักที่หัวไม้มากกว่าด้ามไม้ แต่ไม้อีกยี่ห้อหนึ่งหนักที่ด้ามจับมากกว่าหัวไม้ ดังนั้นผู้เล่นก็ควรจะต้องพิจารณาดูตนเองว่าชอบเล่นแบบไหน เล่นอยู่ที่ท้ายคอร์ตหรือวอลเลย์ที่หน้าเน็ต เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ การใช้ไม้เทนนิสที่หนักหัวเล่นที่ท้ายคอร์ตจะทำให้การตีลูกเป็นไปอย่างแม่นยำกว่า ้พราะน้ำหนักที่หัวไม้ช่วยในการส่งลูกได้ดีกว่า แต่พอใช้เล่นวอลเลย์ที่หน้าเน็ต ไม้ที่หนักหัวจะทำให้ตีลูกได้ช้ากว่าไม้ที่เบาที่หัวไม้ การที่ช้ากว่าแม้จะเพียงเสี้ยววินาที วินาทีก็ทำให้เกิดการตีลูกวอลเลย์ผิดจังหวะไปอย่างน่าเสียดาย
ความแข็งกระด้างและความมีสปริงของไม้ ความแข็งกระด้างและความมีสปริงของไม้ก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะไม้แต่ละยี่ห้อมักมีสิ่งเหล่านี้แตกต่างกันไป ไม้เทนนิสที่แข็งกระด้างหรือมีสปริงให้สังเกตดูได้จากคอไม้เทนนิส ว่ามีความอ่อนหรือความแข็งมากแค่ไหน ถ้าแข็งก็แสดงว่ามีความแข็งกระด้างไม่มีสปริง ถ้าคออ่อนก็แสดงว่ามีสปริง ผลของการเล่นไม้ที่มีคุณสมบัติที่กล่าวมานี้ก็แตกต่างกัน คือไม้ที่แข็งกระด้างจะไม่ช่วยผ่อนแรงผู้เล่นเลย ในขณะที่ไม้ที่มีสปริงจะช่วยผ่อนแรงและส่งลูกให้ผู้เล่นได้เป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ตามนักเทนนิสอาวุโสของวงการเทนนิสไทยผู้หนึ่งเคยบอกว่า ไม้ที่แข็งกระด้างก็มีข้อดีอยู่เหมือนกันสำหรับผู้ที่มีพลกำลังดี เพราะทำให้สามารถคำนวณแรงและตำแหน่งที่ตีไปได้ไม่ผิดพลาด
ชนิดของเอ็นที่ใช้กับไม้เทนนิส ชนิดของเอ็นมีอยู่หลายอย่างด้วยกัน คือเอ็นแท้ เอ็นเทียม และเอ็นไนลอน ซึ่งยังมีจำแนกออกไปอีกหลาย ๆ อย่างตามยี่ห้อซึ่งมีอยู่หลายยี่ห้อ คุณสมบัติของเอ็นที่กล่าวถึงนี้แตกต่างกันมาก คือเอ็นแท้จะมีสปริงมากกว่าเอ็นเทียม และเอ็นเทียมจะมีสปริงมากกว่าไนลอน แต่เอ็นไนลอนมีความคงทนมากกว่าเอ็นเทียม และเอ็นเทียมมีความคงทนมากกว่าเอ็นแท้ เอ็นจำพวกมีสปริงมาก ๆ เหมาะสมสำหรับไม้ที่มีความกระด้าง เอ็นที่มีสปริงน้อยก็เหมาะกับไม้ที่มีสปริงมาก หรือเป็นไปตามใจของผู้เล่น ว่าต้องการความมีสปริงมากแค่ไหน และใช้ไม้อย่างไร ความตึงของของการขึ้นเอ็นก็สำคัญไม่น้อยเลย ปกติแล้วร้านกีฬาในเมืองไทยจะขึ้นเอ็นตึงอย่างมากแค่ 60-70 ปอนด์ ซึ่งความจริงแล้วไม้สมัยใหม่ยังขึ้นได้ตึงกว่านั้นอีก นักเทนนิสระดับโลกมักขึ้นเอ็นตึง ๆ เพราะการขึ้นเอ็นหย่อนจะทำให้มีความยืดหยุ่นมากเกินไป และเอ็นมักรวนเวลาเล่นลูกสปริง แต่การขึ้นเอ็นตึง ๆ นั้นบางคนก็บ่นว่าทำให้มีความกระด้างและเอ็นก็จะขาดง่ายอีกด้วย
สีสันของไม้เทนนิส บางคนคิดว่าสีสันเป็นสิ่งที่ไม่สำคัญ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะจากการวิจัยพบว่าสีสันอันสวยงามของไม้เทนนิสมีผลทางจิตวิทยากับผู้เล่นอย่างมากมาย เช่นเดียวกับทฤษฎีที่ว่าสีมีอิทธิพลเหนือจิตใจมนุษย์ ยกตัวอย่างเช่น คุณมีไม้ที่คุณชอบและเล่นอยู่เป็นประจำทุกวัน แต่ต่อมาเพื่อนคุณไปซื้อแรกเก็ตใหม่มาอวด แรคเก็ตเพื่อนคุณนั้นมีสีสันสวยงาม และดูกะทัดรัดเหมาะมือดี ตอนนี้คุณก็จะเริ่มมองไม้ของคุณด้วยสายตาที่เปลี่ยนไป ต่อมาเมื่อคุณมีโอกาสยืมไม้อันนั้นมาเล่นดูบ้างด้วยจิตใจของคุณที่จดจ่ออยู่กับความสวยงามของมัน คุณก็เลยถูกอกถูกใจไปกับไม้อันนั้น ซึ่งผลของความถูกอกถูกใจจะทำให้คุณรู้สึกได้ว่าตีได้ดีขึ้น ผลสะท้อนก็กลับกลายเป็นว่าไม้อันเดิมของคุณไม่เอาไหนเลยนั่นเอง
หลักการสำคัญ ๆ ในการเลือกไม้เทนนิสประจำตัวก็มีเท่านี้ บางคนเล่นเทนนิสมานาน เมื่อเปลี่ยนไม้ดูก็พบว่าตีได้ดีขึ้น โดยพิจารณาจากหลักการกว้าง ๆ ข้างต้นนี้เอง



บทความโดย : นิตยสารเทนนิส
http://www.thaitennismagazine.com/TennisTips/NewsView.php?TopicID=21