รายการกระแสร์ มีนบุรี 25 - 26 ธันวาคม 2553
Tennis krudao khun petcharawutvittaya
นักกีฬา กิจกรรม นักเรียนโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ เพชราวุธวิทยาในพระอุปถัมภฯ
วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553
วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553
http://tennisfive.blogspot.com/
การจับไม้เทนนิส
http://www.blogger.com/post-create.g?blogID=3412063367110861268ป้ายกำกับ: พื้นฐานเทนนิสเบื้องต้น
การจับไม้เทนนิสที่ถูกหลัก จะทำให้การตีลูกมีประสิทธิภาพและแม่นยำ การจับไม้เพื่อตีลูกในลักษณะต่างๆ จะใช้ฐานนิ้วชี้ของมือข้างที่กำไม้ สัมผัสกับด้านต่างๆ ทั้งแปดของด้ามไม้เทนนิส เป็นตัวอ้างอิง ซึ่งด้านทั้งแปดหรือที่เรียกว่า กริพ(GRIP) ได้แก่ ส่วนบน(Top), ส่วนล่าง(Bottom), ด้านขวา(Right side), ดัานซ้าย(Left side), Bevel 1(ด้านเอียงที่ 1), Bevel 2, Bevel 3 และ Bevel 4
"กริพที่คุณจับ จะขึ้นอยู่กับว่า คุณจะตีลูกแบบไหน"
โดยพื้นฐานแล้ว จะแบ่งกริพเพื่อใช้ตีลูกในลักษณะต่างๆ ดังต่อไปนี้
- CONTINENTAL GRIP คือ กริพเดียวที่สามารถใช้ได้กับการตีทั้งหมด แต่ก็ไม่ใช่กริพที่นิยมฝึกกันในหมู่ผู้เล่นรุ่นใหม่ๆ เพราะหากเล่นแบบพลิกแพลงเทคนิคจะทำได้ไม่ดีเท่าใดนัก อย่างไรก็ตาม Continental grip ยังคงเป็นพื้นฐานของการใช้เสิร์ฟ, การวอลเล่ย์, การ Smash หรือตีลูกเหนือศีรษะ, การตีลูกสไลด์ และการตีลูกเพื่อการป้องกัน
การจับ: จับด้ามไม้โดยให้ตำแหน่งของฐานนิ้วชี้อยู่บนด้านเอียงที่ 1 (bevel 1) หรือ Bevel 4 สำหรับคนตีมือซ้าย
ข้อดี: ลูกที่ตีออกเป็นแบบ flat ที่พุ่งตรงและแรง การช่วยในเกมส์รับได้ดี โดยเฉพาะจังหวะที่ต้องการความรวดเร็ว เป็นกริพมาตรฐานที่ใช้ในการเสิร์ฟและการวอลเล่ย์ของนักเทนนิส
ข้อเสีย: เป็นเรื่องยากที่จะใช้ตีลูกแบบ topspin นั่นหมายถึง การตีลูกที่ตำ่กว่าระดับเน็ตจะทำได้ไม่ดีเท่าไรนัก - EASTERN FOREHAND GRIP
การจับ: จับด้ามไม้โดยให้ตำแหน่งของฐานนิ้วชี้อยู่บนด้านขวาของด้าม(right side) หรือ Left side สำหรับคนตีมือซ้าย วิธีง่ายๆ ที่ใช้หา Eastern Forehand Grip คือ ให้ทาบฝ่ามือข้างที่ใช้ตีลงบนหน้าไม้เทนนิส(บนหน้าเอ็น) แล้วรูดฝ่ามือลงมาหาด้ามไม้ที่จับ จะพบว่าฐานของนิ้วชี้จะตรงกับตำแหน่งของ Eastern forehand grip
ข้อดี: อาจจะเรียกได้ว่าเป็นกริพที่ง่ายที่สุดสำหรับการตีลูกโฟแฮนด์ การตีลูกได้ทั้งแบบ topspin หรือแบบ flat การเปลี่ยนจาก Eastern forehand grip ไปเป็นกริพอื่นๆ ทำได้สะดวกรวดเร็ว ทำให้เป็นทางเลือกที่ฉลาดของผู้เล่นที่นิยมขึ้นตีหน้าเน็ต
ข้อเสีย: จุดตีจะกว้างออกไปมากกว่า Continental grip การตีลูกสูงทำได้ไม่ดีเท่าไรนัก และลูกที่ตีมีแนวโน้มทีจะเป็น flat มากกว่า ลูกจะติด topspin ได้ไม่เต็มที่ - SEMI-WESTERN FOREHAND GRIP
การจับ: จาก Eastern forehand grip ให้หมุนข้อมือในทิศทางตามเข็มนาฬิกามาอีก 1 ช่อง(bevel) สำหรับคนตีซ้าย ให้หมุนทวนเข็มนาฬิกา
ข้อดี: การตีลูกแบบ topspin ทำได้ดีกว่ากริพที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ลูกมีโอกาสโค้งผ่านหน้าเน็ตมากกว่า
ข้อเสีย: มักประสบกับปัญหากับการตีลูกที่ต่ำและใกล้ตัว - WESTERN FOREHAND GRIP คือ กริพสุดท้าย(สุดโต่ง) ของการตีลูกโฟร์แฮนด์ นิยมใช้กันในหมู่ผู้เล่นบนคอร์ดดิน และเยาวชนรุ่นใหม่ๆ นักเทนนิสมืออาชีพที่ใช้ เช่น Rafael Nadal
การจับ: จาก Semi-Western forehand grip ให้หมุนข้อมือในทิศทางตามเข็มนาฬิกามาอีก 1 ช่อง(bevel) สำหรับคนตีซ้ายให้หมุนในทิศทางตรงกันข้าม
ข้อดี: แรงจากการตวัดข้อมือที่จับโดยกริพนี้ จะติด topspin ได้รุนแรงที่สุด ลูกที่กระทบพื้นจะกระดอนออกต่อค่อนข้างแรง มีโอกาสให้ฝ่ายตรงข้ามต้ิองถอยกลับไปตั้งรับหลังเส้นลึกขึ้น
ข้อเสีย: ลูกบอลจากฝั่งตรงข้ามที่ตีมากระทบพื้นแล้วกระดอนต่ำและเร็ว(โดยเฉพาะบนฮาร์ดคอร์ต) เป็นอุสรรคต่อผู้่เล่นที่จับกริพนี้เป็นอย่างมาก ด้วยเหตุผลที่ว่า ผู้เล่นต้องใช้ความรวดเร็วในการสโตรค(stroke) บวกกับกำลังข้อมือมหาศาล ในการตีบอลที่จุดกระทบและ topspin ให้ทัน - EASTERN BACKHAND GRIP
การจับ: วางฐานของนิ้่วชี้ที่ส่วนบนสุดของกริพ(top)
ข้อดี: เป็นกริพอเนกประสงค์ของการตีลูกแบคแฮนด์ ผู้เล่นบางคนใช้ตีลูกสไลด์ หรือไม่เช่นนั้นก็สามารถพลิกไปเป็น Continental grip ได้อย่างรวดเร็ว Eastern backhand grip ยังใช้เป็นกริพสำหรับการเสิร์ฟแบบ Kick serves
ข้อเสีย: การตีลูกที่พุ่งมาสูงกว่าระดับไหล่ทำได้ไม่ค่อยดีนัก บ่อยครั้งที่ทำให้ผู้เล่นต้องตีลูกแบบสไลด์กลับไปโดยบังคับ รวมไปถึงจุดอ่อนของ Kick serves ที่ฝั่งตรงข้ามมักจะรีเทิร์นลูกกลับมาในช่วงจุดตีที่สูงกว่าระดับไหล่ - EXTREME EASTERN OR SEMI-WESTERN BACKHAND GRIP
การจับ: ที่ bevel 4 สำหรับมือขวา หรือ bevel 1 สำหรับมือซ้าย
ข้อดี: จุดที่ขยายออกไป ทำให้การตีลูกที่สูงกว่าระดับไหล่ทำได้คล่องกว่ากริพแบคแฮนด์ที่ผ่านมา รวมถึงการ topspin
ข้อเสีย: คล้ายกันกับการจับ Weatern forehand grip ตรงที่ตีลูกต่ำได้ไม่ค่อยดี - TWO-HAND BACKHAND GRIP
การจับ: วิธีจับสำหรับการตีลูกแบคแฮนด์สองมือวิธีหนึ่ง คือ ใช้มือขวาจับไม้ที่ Continental grip ช่วงด้านบน และมือซ้ายจับไม้ที่ Semi-Western forehand grip ช่วงด้านล่าง(สำหรับคนถนัดซ้ายให้จับตรงกันข้ามกัน)
ข้อดี: เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนที่ไม่แข็งแรงพอที่จะตีแบคแฮนด์มือเดียว สามารถตีลูกพุ่งต่ำได้ดี รวมถึงการตีลูกระดับไหล่ที่ใช้ทั้งสองมือประคองช่วยกัน
ข้อเสีย: ช่วงตีสั้นกว่าการตีแบคแฮนด์มีเดียว การมีมือข้างที่สองช่วยประคองเป็นการล็อคหน้าไม้ไว้ ทำให้ไม่สามารถตีลูกวอลเลย์และลูกสไลด์ได้
การเลือกจับด้านกริพ ให้คำนึงถึงธรรมชาติในตัวคุณ(คุณเป็นผู้รู้ตัวดีที่สุด) หาด้านกริพที่ทำให้คุณรู้สึกสบายและเข้ากับตัวคุณมากที่สุดเวลาเล่น นั่นแหละคือกริพของคุณ
0 ความคิดเห็น 6.3.09 เขียนโดย Admin
ป้ายกำกับ: พื้นฐานเทนนิสเบื้องต้น
ป้ายกำกับ: พื้นฐานเทนนิสเบื้องต้น
ประเภทการตีลูกเทนนิส แบ่งออกเป็น 8 ชนิด หลักๆ ดังนี้
- การตีลูกโฟรแฮนด์ (Forehand Shot)
- การตีลูกแบคแฮนด์ (Backhand Shot)
- การเสิร์ฟ (Tennis Serve)
- การตีลูกวอลเล่ย์ (Volleying)
- การตีลูกแบบ Smash
- การตีลูกแบบ Lob
- การตี Drop shot
- Hit it Through your legs(การตีลอดหว่างขา)
http://www.thaitennismagazine.com/TennisTips/TennisTipsIndex.php
Tennis Tipsบทความเกี่ยวกับเทนนิส | เทคนิคการเล่นเทนนิส | กฎกติกาเกี่ยวกับเทนนิส | ค้นหาบทความ
บทความเกี่ยวกับเทนนิส | เทคนิคการเล่นเทนนิส | กฎกติกาเกี่ยวกับเทนนิส | ค้นหาบทความ
http://www.blogger.com/post-create.g?blogID=3412063367110861268
บทความ | ผู้เขียน | ประเภท | Update |
ยุทธการเล่นคู่ (7927) | เบ็ญจ์ - จิตตภาวดี | เทคนิคการเล่นเทนนิส | 2003-06-05 |
ทีมในฝันของฟิช (1845) | นาตาลี | บทความเกี่ยวกับเทนนิส | 2003-04-13 |
คะแนนสะสมแม็กกาซีนจูเนียร์ทัวร์เพื่ออะไร (3394) | ทิพวรรณ นาจาน | บทความเกี่ยวกับเทนนิส | 2003-03-26 |
Short Set (3781) | ทิพวรรณ นาจาน | กฎกติกาเกี่ยวกับเทนนิส | 2003-02-27 |
เมนดรอว์ คัดเลือก สิทธิพิเศษ คืออะไร (3359) | ทิพวรรณ นาจาน | กฎกติกาเกี่ยวกับเทนนิส | 2003-02-24 |
จะเลือกใช้ไม้เทนนิสอย่างไรดี (10418) | นิตยสารเทนนิส | เทคนิคการเล่นเทนนิส | 2002-11-23 |
ค่านิยมสังคมเทนนิส (4422) | นิตยสารเทนนิส | บทความเกี่ยวกับเทนนิส | 2002-11-23 |
หลอบวอลเลย์ (5374) | นิตยสารเทนนิส | เทคนิคการเล่นเทนนิส | 2002-11-22 |
อยากลงแข่งกะเขาบ้างแต่ไม่รู้อะไรเลย (4293) | นิตยสารเทนนิส | บทความเกี่ยวกับเทนนิส | 2002-11-22 |
วอลเลย์ในระดับสูง-วอลเลย์ลูกระดับต่ำและฮาล์ฟวอลเลย์ (7077) | นิตยสารเทนนิส | เทคนิคการเล่นเทนนิส | 2002-11-22 |
น้ำหนึ่งแก้วทำให้เสิร์ฟดีขึ้น (6604) | นิตยสารเทนนิส | เทคนิคการเล่นเทนนิส | 2002-11-22 |
แอนดี รอดดิก ทายาทอเมริกันคนต่อไป (2519) | นาตาลี | บทความเกี่ยวกับเทนนิส | 2002-08-30 |
เมื่อไรที่ควรเปลี่ยนเกมการเล่น (4796) | นิตยสารเทนนิส | เทคนิคการเล่นเทนนิส | 2002-08-30 |
เล่นเทนนิสอย่างไรให้ดีขึ้น (11321) | นิตยสารเทนนิส | เทคนิคการเล่นเทนนิส | 2002-08-30 |
Mini Tennis Thailand (2452) | นาตาลี | บทความเกี่ยวกับเทนนิส | 2002-05-10 |
เอ็นขาดระหว่างการเสิร์ฟ (3640) | ทิพวรรณ นาจาน | กฎกติกาเกี่ยวกับเทนนิส | 2002-04-10 |
กติกาน่ารู้ (7480) | ทิพวรรณ นาจาน | กฎกติกาเกี่ยวกับเทนนิส | 2001-11-10 |
เสริฟเสีย (5340) | ทิพวรรณ นาจาน | กฎกติกาเกี่ยวกับเทนนิส | 2001-10-10 |
มุมส่วนตัวของนักเทนนิสชายระดับโลก (4291) | นิตยสารเทนนิส | บทความเกี่ยวกับเทนนิส | 2001-03-30 |
มุมส่วนตัวของนักเทนนิสหญิงดังระดับโลก (3327) | นิตยสารเทนนิส | บทความเกี่ยวกับเทนนิส | 2001-03-30 |
ความสำเร็จของพี่น้องตระกูลวิลเลียมส์จะช่วยสร้างประวัติการณ์ทางกีฬา (2480) | นิตยสารเทนนิส | บทความเกี่ยวกับเทนนิส | 2001-04-10 |
บทความเกี่ยวกับเทนนิส | เทคนิคการเล่นเทนนิส | กฎกติกาเกี่ยวกับเทนนิส | ค้นหาบทความ
http://www.blogger.com/post-create.g?blogID=3412063367110861268
การเปลี่ยนเกมการเล่น
เมื่อไรที่ควรเปลี่ยนเกมการเล่น ไม่เคยมีใครรู้สึกดีเวลาที่ยุทธวิธีเล่นเริ่มแรกของตนกำลังสั่นคลอน ขณะที่คู่ต่อสู้เป็นฝ่ายคุมเซ็ตแรกเสียอยู่หมัด นักเทนนิสส่วนใหญ่จะรู้สึกหวั่นไหวและหมดกำลังใจตรงนี้ แต่จริง ๆ แล้วเป็นช่วงที่เราควรจะมองในแง่ดีเสียมากกว่า หลักสำคัญในการแข่งเทนนิสก็คือการหาวิธีโต้ตอบคู่ต่อสู้ให้ได้ ถ้าเรายังอยากคุมอารมณ์ให้ได้ ในตอนนั้นก็ควรสังเกตดูว่าทำไมเราจึงยังเสียแต้มอยู่อย่างนี้ และอย่ายอมแพ้เด็ดขาด
ก่อนที่จะตัดสินใจเปลี่ยนยุทธวิธีการเล่นขณะแข่งขันที่รูปการปรากฏออกมาว่าเรากำลังจะแพ้แน่ ๆ เราควรจะมั่นใจเสียก่อนว่าปัญหาที่แท้จริงอยู่ที่ยุทธวิธีการเล่น ไม่ใช่ปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับเกมของเรา เพราะฉะนั้นหากเรากำลังอยู่ในสถานการณ์คับขัน ให้ถามตัวเอง 3 ข้อต่อไปนี้
1. จิตใจของเรามั่นคงดีหรือไม่
ถ้าทัศนคติและสมาธิของเรากำลังย่ำแย่อยู่ในขณะนั้น ไม่ว่าจะเปลี่ยนยุทธวิธีการเล่นอย่างไรก็คงจะไม่ได้ผลอย่างแน่นอน ดังนั้นควรจะเน้นควบคุมปรับปรุงทางด้านจิตใจ และคงเล่นยุทธวิธีเดิมต่อไป
2. เราวอร์มอัพและจดจ่ออยู่กับการแข่งขันอย่างเต็มที่หรือยัง
ถ้าเราเริ่มแมตช์ด้วยการพลาดเองอย่างง่าย ๆ เป็นส่วนใหญ่ ก็อาจเป็นได้ว่าเครื่องเรายังไม่ติดและยังไม่ทันตั้งตัว เราอาจพบว่าแมตช์กำลังจะพลิกเกมตอนที่เราเริ่มเหงื่อออกแล้ว ถ้าเป็นอย่างนั้นก็ให้หาจังหวะของเราและเริ่มปฏิบัติการอย่างเต็มที่ได้เลย
3. คู่ต่อสู้เรากำลังฮอตแบบชั่วคราวหรือเปล่า
อย่าเร่งเปลี่ยนเกมการเล่นเพียงเพราะว่าคู่ต่อสู้ของเราเริ่มต้นแมตช์ได้สวยด้วยการอาศัยโชคเพียงไม่กี่ช็อต ถ้าเรารู้จุดอ่อนของคู่ต่อสู้แล้วก็อย่าปล่อยให้ลูกวินเนอร์เหล่านั้นมาขัดขวางให้เราลังเลในการโจมตีจุดอ่อนของเขา
หากเราลองสังเกตดูแล้วปรากฏว่าไม่เข้าข่ายในสามข้อข้างต้นเลย ก็อาจถึงเวลาแล้วที่ควรปรับยุทธวิธีการเล่น อย่างไรก็ตามควรพิจารณาถึงข้อแนะนำต่อไปนี้
*ควรให้โอกาสกับยุทธวิธีดั้งเดิมของเราเสมอ
ถ้าคู่ต่อสู้สามารถหาทางโต้ตอบยุทธวิธีของเราตอนต้นแมตช์ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเขาคงจะฮอตอยู่แค่ไม่กี่เกม แต่ในที่สุดความเป็นจริงก็จะเริ่มขึ้น และยุทธวิธีของเราก็เริ่มได้ผล บ่อยครั้งหากเราเครียดกับจุดอ่อน คู่ต่อสู้ก็จะจู่โจมทำแต้ม ให้ยึดทัศนะนี้ไว้ตลอดเซ็ตที่หนึ่ง ถ้าเราเสียเซ็ตแรก ทีนี้ก็ถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนเกมการเล่นแล้ว
ทัศนะอันนี้ทำให้แพทริค ราฟเตอร์ สามาถเข้าถึงรอบรองฯเฟร้นโอเพน และคว้าแชมป์ยูเอสโอเพน ในปีค.ศ. 1997 เขายึดติดอยู่กับแผนการเล่นในการเสริฟและขึ้นวอลเลย์ ไม่หวั่นไหวเปลี่ยนไปยึดเกมท้ายคอร์ตเพียงเพราะคู่ต่อสู้ของเขาตีพาสซิงช็อตอันงดงามมาเพียงไม่กี่ลูก
*อย่าเปลี่ยนยุทธวิธีจนต่างจากจุดที่ตัวเองถนัดอย่างสิ้นเชิง
อย่าลืมตัวว่าเกมการเล่นแบบไหนที่เราถนัด ถ้าเราถนัดเล่นท้ายคอร์ต และไม่เก่งหน้าเน็ตเอาเสียเลย ก็ไม่ต้องเปลี่ยนถึงขั้นเสิร์ฟวอลเลย์ในทุก ๆ แต้ม
*เก็บเอาเงื่อนไขรอบ ๆ ตัวมาพิจารณาด้วย
ถ้าอากาศร้อนมาก โดยเราคาดว่าจะต้องอ่อนแรงอย่างแน่นอนหากแรลลีกันนาน ๆ ก็ให้วางแผนเล่นอย่างชาญฉลาด เช่น ชิพแอนด์ชาร์ตทุกจังหวะที่เรามีโอกาส เพื่อให้แต่ละแต้มกินเวลาน้อยลง
*เตรียมแผนสำรองไว้มากกว่าหนึ่ง
การเปลี่ยนยุทธวิธีระหว่างการแข่งขันจะง่ายขึ้น หากเราเตรียมคิดถึงวิธีพิชิตคู่ต่อสู้มามากกว่าหนึ่ง นี่ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ว่าทำไมการเล่นเกมได้อย่างสมบูรณ์จึงได้เปรียบ พีท แซมปราส เป็นผู้เล่นคนหนึ่งที่เอาชนะได้ยากก็เพราะเขาสามารถเอาชนะคู่ต่อสู้ได้ไม่ว่าจะด้วยการเสิร์ฟ-วอลเลย์หรือปักหลักท้ายคอร์ต
*ต้องมั่นใจว่าทัศนะและความเอาจริงของเรายังมั่นคงไม่เปลี่ยนแปลงไปตามยุทธวิธีเ
หากเราหวั่นไหวโอดครวญไปกับการเปลี่ยนยุทธวิธี คู่ต่อสู้เราก็จะเป็นฝ่ายได้เปรียบ ในทางกลับกัน หากเราสนุกไปกับเกมการเล่นใหม่นี้ ก็จะเป็นการทำลายคู่ต่อสู้แทน อีกประการหนึ่งที่สำคัญ ถ้าเราไม่ทุ่มเทจิตใจและวิญญาณให้กับการแข่งขัน ความสามารถในตัวของเราก็จะไม่ปรากฏออกมา
หากเราต้องการชัยชนะในการแข่งขันเทนนิส ก็ต้องรู้จักการปรับเล็กน้อยสำหรับยุทธวิธีการเล่นดั้งเดิมของเรา อย่าเปลี่ยนเกมการเล่นเร็วจนเกินไป และอย่าเสี่ยงเล่นในรูปแบบที่เราไม่ถนัด ถ้าทำได้ตามนี้เราก็จะค้นพบว่าเป็นการน่าพึงพอใจแค่ไหนในการเปลี่ยนแผนการเดิม เพื่อกลับมาเป็นฝ่ายคุมเกมและชนะการแข่งขันในที่สุด
บทความโดย : นิตยสารเทนนิส
ก่อนที่จะตัดสินใจเปลี่ยนยุทธวิธีการเล่นขณะแข่งขันที่รูปการปรากฏออกมาว่าเรากำลังจะแพ้แน่ ๆ เราควรจะมั่นใจเสียก่อนว่าปัญหาที่แท้จริงอยู่ที่ยุทธวิธีการเล่น ไม่ใช่ปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับเกมของเรา เพราะฉะนั้นหากเรากำลังอยู่ในสถานการณ์คับขัน ให้ถามตัวเอง 3 ข้อต่อไปนี้
1. จิตใจของเรามั่นคงดีหรือไม่
ถ้าทัศนคติและสมาธิของเรากำลังย่ำแย่อยู่ในขณะนั้น ไม่ว่าจะเปลี่ยนยุทธวิธีการเล่นอย่างไรก็คงจะไม่ได้ผลอย่างแน่นอน ดังนั้นควรจะเน้นควบคุมปรับปรุงทางด้านจิตใจ และคงเล่นยุทธวิธีเดิมต่อไป
2. เราวอร์มอัพและจดจ่ออยู่กับการแข่งขันอย่างเต็มที่หรือยัง
ถ้าเราเริ่มแมตช์ด้วยการพลาดเองอย่างง่าย ๆ เป็นส่วนใหญ่ ก็อาจเป็นได้ว่าเครื่องเรายังไม่ติดและยังไม่ทันตั้งตัว เราอาจพบว่าแมตช์กำลังจะพลิกเกมตอนที่เราเริ่มเหงื่อออกแล้ว ถ้าเป็นอย่างนั้นก็ให้หาจังหวะของเราและเริ่มปฏิบัติการอย่างเต็มที่ได้เลย
3. คู่ต่อสู้เรากำลังฮอตแบบชั่วคราวหรือเปล่า
อย่าเร่งเปลี่ยนเกมการเล่นเพียงเพราะว่าคู่ต่อสู้ของเราเริ่มต้นแมตช์ได้สวยด้วยการอาศัยโชคเพียงไม่กี่ช็อต ถ้าเรารู้จุดอ่อนของคู่ต่อสู้แล้วก็อย่าปล่อยให้ลูกวินเนอร์เหล่านั้นมาขัดขวางให้เราลังเลในการโจมตีจุดอ่อนของเขา
หากเราลองสังเกตดูแล้วปรากฏว่าไม่เข้าข่ายในสามข้อข้างต้นเลย ก็อาจถึงเวลาแล้วที่ควรปรับยุทธวิธีการเล่น อย่างไรก็ตามควรพิจารณาถึงข้อแนะนำต่อไปนี้
*ควรให้โอกาสกับยุทธวิธีดั้งเดิมของเราเสมอ
ถ้าคู่ต่อสู้สามารถหาทางโต้ตอบยุทธวิธีของเราตอนต้นแมตช์ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเขาคงจะฮอตอยู่แค่ไม่กี่เกม แต่ในที่สุดความเป็นจริงก็จะเริ่มขึ้น และยุทธวิธีของเราก็เริ่มได้ผล บ่อยครั้งหากเราเครียดกับจุดอ่อน คู่ต่อสู้ก็จะจู่โจมทำแต้ม ให้ยึดทัศนะนี้ไว้ตลอดเซ็ตที่หนึ่ง ถ้าเราเสียเซ็ตแรก ทีนี้ก็ถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนเกมการเล่นแล้ว
ทัศนะอันนี้ทำให้แพทริค ราฟเตอร์ สามาถเข้าถึงรอบรองฯเฟร้นโอเพน และคว้าแชมป์ยูเอสโอเพน ในปีค.ศ. 1997 เขายึดติดอยู่กับแผนการเล่นในการเสริฟและขึ้นวอลเลย์ ไม่หวั่นไหวเปลี่ยนไปยึดเกมท้ายคอร์ตเพียงเพราะคู่ต่อสู้ของเขาตีพาสซิงช็อตอันงดงามมาเพียงไม่กี่ลูก
*อย่าเปลี่ยนยุทธวิธีจนต่างจากจุดที่ตัวเองถนัดอย่างสิ้นเชิง
อย่าลืมตัวว่าเกมการเล่นแบบไหนที่เราถนัด ถ้าเราถนัดเล่นท้ายคอร์ต และไม่เก่งหน้าเน็ตเอาเสียเลย ก็ไม่ต้องเปลี่ยนถึงขั้นเสิร์ฟวอลเลย์ในทุก ๆ แต้ม
*เก็บเอาเงื่อนไขรอบ ๆ ตัวมาพิจารณาด้วย
ถ้าอากาศร้อนมาก โดยเราคาดว่าจะต้องอ่อนแรงอย่างแน่นอนหากแรลลีกันนาน ๆ ก็ให้วางแผนเล่นอย่างชาญฉลาด เช่น ชิพแอนด์ชาร์ตทุกจังหวะที่เรามีโอกาส เพื่อให้แต่ละแต้มกินเวลาน้อยลง
*เตรียมแผนสำรองไว้มากกว่าหนึ่ง
การเปลี่ยนยุทธวิธีระหว่างการแข่งขันจะง่ายขึ้น หากเราเตรียมคิดถึงวิธีพิชิตคู่ต่อสู้มามากกว่าหนึ่ง นี่ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ว่าทำไมการเล่นเกมได้อย่างสมบูรณ์จึงได้เปรียบ พีท แซมปราส เป็นผู้เล่นคนหนึ่งที่เอาชนะได้ยากก็เพราะเขาสามารถเอาชนะคู่ต่อสู้ได้ไม่ว่าจะด้วยการเสิร์ฟ-วอลเลย์หรือปักหลักท้ายคอร์ต
*ต้องมั่นใจว่าทัศนะและความเอาจริงของเรายังมั่นคงไม่เปลี่ยนแปลงไปตามยุทธวิธีเ
หากเราหวั่นไหวโอดครวญไปกับการเปลี่ยนยุทธวิธี คู่ต่อสู้เราก็จะเป็นฝ่ายได้เปรียบ ในทางกลับกัน หากเราสนุกไปกับเกมการเล่นใหม่นี้ ก็จะเป็นการทำลายคู่ต่อสู้แทน อีกประการหนึ่งที่สำคัญ ถ้าเราไม่ทุ่มเทจิตใจและวิญญาณให้กับการแข่งขัน ความสามารถในตัวของเราก็จะไม่ปรากฏออกมา
หากเราต้องการชัยชนะในการแข่งขันเทนนิส ก็ต้องรู้จักการปรับเล็กน้อยสำหรับยุทธวิธีการเล่นดั้งเดิมของเรา อย่าเปลี่ยนเกมการเล่นเร็วจนเกินไป และอย่าเสี่ยงเล่นในรูปแบบที่เราไม่ถนัด ถ้าทำได้ตามนี้เราก็จะค้นพบว่าเป็นการน่าพึงพอใจแค่ไหนในการเปลี่ยนแผนการเดิม เพื่อกลับมาเป็นฝ่ายคุมเกมและชนะการแข่งขันในที่สุด
บทความโดย : นิตยสารเทนนิส
วงสนทนาของเทนนิส
ค่านิยมสังคมเทนนิส แน่นอนว่าเวลาเราอยู่ในสังคมใดก็ตาม หากไม่รู้จักปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นก็อาจถูกจัดให้อยู่ในข่ายของบุคคลไม่พึงประสงค์ได้ ต่อไปนี้เป็นมารยาทในการเล่นและแข่งขันเทนนิสเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เรานำมาฝาก จะได้ไม่ถูกแบนด์จากสังคมคนรักเทนนิส 1. อย่าพยายามพูดถึงข้อเสียในการตีลูกโฟรแฮนด์หรือแบคแฮนด์ของผู้ที่เล่นกับท่าน โดยที่เขาไม่ได้ถาม
2. อย่าพยายามพูดถึงชัยชนะของตนเองบ่อย ๆ ในวงสนทนา
3. อย่าคุยกับผู้ชนะว่า ท่านก็รู้จุดอ่อนของคู่ต่อสู้ของเขาเหมือนกัน
4. เวลาเล่นคู่กับคนที่เก่งกว่าท่าน อย่าแย่งเล่นคอร์ตแบคแฮนด์ นอกจากท่านถนัดมือซ้าย
5. เวลาหมดเกมคู่ อย่าหยุดกินน้ำหรือถ่วงเวลาการแข่งขัน
6. อย่าเดินทอดน่องผ่านหลังคอร์ตในขณะที่เขากำลังเล่นหรือแข่งขันอยู่
7. อย่าเล่นแต่เฉพาะกับมือดี ๆ เท่านั้น บางครั้งควรให้โอกาสแก่สุภาพสตรี เด็ก หรือมือที่อ่อนกว่าเล่นด้วยบ้าง
8. ถ้าคอร์ตอื่นมี 4 คนอยู่แล้ว คอร์ตท่านขาดคน อย่าพยายามไปตื๊อเขามา
9. เทนนิสเป็นเกมที่มีความสง่าและงดงาม ฉะนั้นอย่าลงไปในคอร์ตด้วยเสื้อผ้าที่เปื้อนเปรอะสกปรกหรือไม่เหมาะสม
10. ต่อหน้าแขก อย่าพยายามวิจารณ์ผู้เล่นที่มีชื่อเสียงให้เขาฟัง
11. อย่าออกความเห็นเกี่ยวกับลูกที่เราตีไปฝั่งตรงข้ามว่าดีหรือออก
12. อย่าพยายามพูดวิจารณ์เกมกับผู้แพ้ ถ้าเขาไม่ได้ถาม
13. เวลาพาร์ทเนอร์ตีไม่ดี อย่าซ้ำเติม เพราะทุกคนล้วนอยากเล่นให้ดีที่สุดกันทั้งนั้น 14. อย่าเล่นฟรี โดยไม่ยอมเสียค่าบำรุงให้แก่สมาคมหรือสโมสรนั้น ๆ ตามระเบียบ
บทความโดย : นิตยสารเทนนิส
2. อย่าพยายามพูดถึงชัยชนะของตนเองบ่อย ๆ ในวงสนทนา
3. อย่าคุยกับผู้ชนะว่า ท่านก็รู้จุดอ่อนของคู่ต่อสู้ของเขาเหมือนกัน
4. เวลาเล่นคู่กับคนที่เก่งกว่าท่าน อย่าแย่งเล่นคอร์ตแบคแฮนด์ นอกจากท่านถนัดมือซ้าย
5. เวลาหมดเกมคู่ อย่าหยุดกินน้ำหรือถ่วงเวลาการแข่งขัน
6. อย่าเดินทอดน่องผ่านหลังคอร์ตในขณะที่เขากำลังเล่นหรือแข่งขันอยู่
7. อย่าเล่นแต่เฉพาะกับมือดี ๆ เท่านั้น บางครั้งควรให้โอกาสแก่สุภาพสตรี เด็ก หรือมือที่อ่อนกว่าเล่นด้วยบ้าง
8. ถ้าคอร์ตอื่นมี 4 คนอยู่แล้ว คอร์ตท่านขาดคน อย่าพยายามไปตื๊อเขามา
9. เทนนิสเป็นเกมที่มีความสง่าและงดงาม ฉะนั้นอย่าลงไปในคอร์ตด้วยเสื้อผ้าที่เปื้อนเปรอะสกปรกหรือไม่เหมาะสม
10. ต่อหน้าแขก อย่าพยายามวิจารณ์ผู้เล่นที่มีชื่อเสียงให้เขาฟัง
11. อย่าออกความเห็นเกี่ยวกับลูกที่เราตีไปฝั่งตรงข้ามว่าดีหรือออก
12. อย่าพยายามพูดวิจารณ์เกมกับผู้แพ้ ถ้าเขาไม่ได้ถาม
13. เวลาพาร์ทเนอร์ตีไม่ดี อย่าซ้ำเติม เพราะทุกคนล้วนอยากเล่นให้ดีที่สุดกันทั้งนั้น 14. อย่าเล่นฟรี โดยไม่ยอมเสียค่าบำรุงให้แก่สมาคมหรือสโมสรนั้น ๆ ตามระเบียบ
บทความโดย : นิตยสารเทนนิส
การเลือกไม้เทนนิส
จะเลือกใช้ไม้เทนนิสอย่างไรดี
การเลือกใช้ไม้เทนนิสให้เหมาะสมกับตัวเองมีความสำคัญมาก ไม้เทนนิสยี่ห้อหนึ่งอาจจะเหมาะสมกับคนหนึ่ง แต่อาจจะไม่เหมาะสมสำหรับอีกคนก็ได้ หลักการเลือกแรคเก็ตที่สำคัญที่สุดควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ คือ น้ำหนัก ขนาดของด้ามจับ น้ำหนักสมดุลย์ระหว่างหัวไม้กับด้ามจับ ชนิดของเอ็นและสีสัน ความแข็งกระด้างและความมีสปริงของไม้
น้ำหนักของไม้ จำเป็นที่ผู้ใช้จะต้องตัดสินใจในการเลือกซื้อให้ดี ให้มีความเหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด ไม่ใช่ใช้ไม้หนักเกินไปหรือเบาเกินไป อนึ่ง เราควรจะคิดถึงกำลังของตนเองด้วยว่าจะคอนน้ำหนักไปได้แค่ไหน เพราะบางทีในการเล่นเกมแรก ๆ ไม้ก็ยังเหมาะมือดีอยู่ แต่พอไปเกมหลัง ๆ ไม้ที่ใช้ชักหนักขึ้นทุกที ๆ เหล่านี้เป็นต้น ขนาดของด้ามจับควรกระชับฝ่ามือให้มีความถนัดในการจับมากที่สุด ไม่ควรใหญ่เกินไปหรือเล็กเกินไป การเลือกใช้ด้ามจับที่ตนเองไม่ถนัดมีส่วนในการที่ทำให้เล่นเทนนิสได้ไม่ดีเท่าที่ควรเช่นกัน
น้ำหนักสมดุลย์ระหว่างหัวไม้กับด้ามจับ ไม้เทนนิสแต่ละยี่ห้อจะมีความสมดุลย์ในเรื่องเหล่านี้แตกต่างกันไป อย่างเช่นไม้ยี่ห้อหนึ่งหนักที่หัวไม้มากกว่าด้ามไม้ แต่ไม้อีกยี่ห้อหนึ่งหนักที่ด้ามจับมากกว่าหัวไม้ ดังนั้นผู้เล่นก็ควรจะต้องพิจารณาดูตนเองว่าชอบเล่นแบบไหน เล่นอยู่ที่ท้ายคอร์ตหรือวอลเลย์ที่หน้าเน็ต เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ การใช้ไม้เทนนิสที่หนักหัวเล่นที่ท้ายคอร์ตจะทำให้การตีลูกเป็นไปอย่างแม่นยำกว่า ้พราะน้ำหนักที่หัวไม้ช่วยในการส่งลูกได้ดีกว่า แต่พอใช้เล่นวอลเลย์ที่หน้าเน็ต ไม้ที่หนักหัวจะทำให้ตีลูกได้ช้ากว่าไม้ที่เบาที่หัวไม้ การที่ช้ากว่าแม้จะเพียงเสี้ยววินาที วินาทีก็ทำให้เกิดการตีลูกวอลเลย์ผิดจังหวะไปอย่างน่าเสียดาย
ความแข็งกระด้างและความมีสปริงของไม้ ความแข็งกระด้างและความมีสปริงของไม้ก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะไม้แต่ละยี่ห้อมักมีสิ่งเหล่านี้แตกต่างกันไป ไม้เทนนิสที่แข็งกระด้างหรือมีสปริงให้สังเกตดูได้จากคอไม้เทนนิส ว่ามีความอ่อนหรือความแข็งมากแค่ไหน ถ้าแข็งก็แสดงว่ามีความแข็งกระด้างไม่มีสปริง ถ้าคออ่อนก็แสดงว่ามีสปริง ผลของการเล่นไม้ที่มีคุณสมบัติที่กล่าวมานี้ก็แตกต่างกัน คือไม้ที่แข็งกระด้างจะไม่ช่วยผ่อนแรงผู้เล่นเลย ในขณะที่ไม้ที่มีสปริงจะช่วยผ่อนแรงและส่งลูกให้ผู้เล่นได้เป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ตามนักเทนนิสอาวุโสของวงการเทนนิสไทยผู้หนึ่งเคยบอกว่า ไม้ที่แข็งกระด้างก็มีข้อดีอยู่เหมือนกันสำหรับผู้ที่มีพลกำลังดี เพราะทำให้สามารถคำนวณแรงและตำแหน่งที่ตีไปได้ไม่ผิดพลาด
ชนิดของเอ็นที่ใช้กับไม้เทนนิส ชนิดของเอ็นมีอยู่หลายอย่างด้วยกัน คือเอ็นแท้ เอ็นเทียม และเอ็นไนลอน ซึ่งยังมีจำแนกออกไปอีกหลาย ๆ อย่างตามยี่ห้อซึ่งมีอยู่หลายยี่ห้อ คุณสมบัติของเอ็นที่กล่าวถึงนี้แตกต่างกันมาก คือเอ็นแท้จะมีสปริงมากกว่าเอ็นเทียม และเอ็นเทียมจะมีสปริงมากกว่าไนลอน แต่เอ็นไนลอนมีความคงทนมากกว่าเอ็นเทียม และเอ็นเทียมมีความคงทนมากกว่าเอ็นแท้ เอ็นจำพวกมีสปริงมาก ๆ เหมาะสมสำหรับไม้ที่มีความกระด้าง เอ็นที่มีสปริงน้อยก็เหมาะกับไม้ที่มีสปริงมาก หรือเป็นไปตามใจของผู้เล่น ว่าต้องการความมีสปริงมากแค่ไหน และใช้ไม้อย่างไร ความตึงของของการขึ้นเอ็นก็สำคัญไม่น้อยเลย ปกติแล้วร้านกีฬาในเมืองไทยจะขึ้นเอ็นตึงอย่างมากแค่ 60-70 ปอนด์ ซึ่งความจริงแล้วไม้สมัยใหม่ยังขึ้นได้ตึงกว่านั้นอีก นักเทนนิสระดับโลกมักขึ้นเอ็นตึง ๆ เพราะการขึ้นเอ็นหย่อนจะทำให้มีความยืดหยุ่นมากเกินไป และเอ็นมักรวนเวลาเล่นลูกสปริง แต่การขึ้นเอ็นตึง ๆ นั้นบางคนก็บ่นว่าทำให้มีความกระด้างและเอ็นก็จะขาดง่ายอีกด้วย
สีสันของไม้เทนนิส บางคนคิดว่าสีสันเป็นสิ่งที่ไม่สำคัญ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะจากการวิจัยพบว่าสีสันอันสวยงามของไม้เทนนิสมีผลทางจิตวิทยากับผู้เล่นอย่างมากมาย เช่นเดียวกับทฤษฎีที่ว่าสีมีอิทธิพลเหนือจิตใจมนุษย์ ยกตัวอย่างเช่น คุณมีไม้ที่คุณชอบและเล่นอยู่เป็นประจำทุกวัน แต่ต่อมาเพื่อนคุณไปซื้อแรกเก็ตใหม่มาอวด แรคเก็ตเพื่อนคุณนั้นมีสีสันสวยงาม และดูกะทัดรัดเหมาะมือดี ตอนนี้คุณก็จะเริ่มมองไม้ของคุณด้วยสายตาที่เปลี่ยนไป ต่อมาเมื่อคุณมีโอกาสยืมไม้อันนั้นมาเล่นดูบ้างด้วยจิตใจของคุณที่จดจ่ออยู่กับความสวยงามของมัน คุณก็เลยถูกอกถูกใจไปกับไม้อันนั้น ซึ่งผลของความถูกอกถูกใจจะทำให้คุณรู้สึกได้ว่าตีได้ดีขึ้น ผลสะท้อนก็กลับกลายเป็นว่าไม้อันเดิมของคุณไม่เอาไหนเลยนั่นเอง
หลักการสำคัญ ๆ ในการเลือกไม้เทนนิสประจำตัวก็มีเท่านี้ บางคนเล่นเทนนิสมานาน เมื่อเปลี่ยนไม้ดูก็พบว่าตีได้ดีขึ้น โดยพิจารณาจากหลักการกว้าง ๆ ข้างต้นนี้เอง
บทความโดย : นิตยสารเทนนิส
http://www.thaitennismagazine.com/TennisTips/NewsView.php?TopicID=21
การเลือกใช้ไม้เทนนิสให้เหมาะสมกับตัวเองมีความสำคัญมาก ไม้เทนนิสยี่ห้อหนึ่งอาจจะเหมาะสมกับคนหนึ่ง แต่อาจจะไม่เหมาะสมสำหรับอีกคนก็ได้ หลักการเลือกแรคเก็ตที่สำคัญที่สุดควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ คือ น้ำหนัก ขนาดของด้ามจับ น้ำหนักสมดุลย์ระหว่างหัวไม้กับด้ามจับ ชนิดของเอ็นและสีสัน ความแข็งกระด้างและความมีสปริงของไม้
น้ำหนักของไม้ จำเป็นที่ผู้ใช้จะต้องตัดสินใจในการเลือกซื้อให้ดี ให้มีความเหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด ไม่ใช่ใช้ไม้หนักเกินไปหรือเบาเกินไป อนึ่ง เราควรจะคิดถึงกำลังของตนเองด้วยว่าจะคอนน้ำหนักไปได้แค่ไหน เพราะบางทีในการเล่นเกมแรก ๆ ไม้ก็ยังเหมาะมือดีอยู่ แต่พอไปเกมหลัง ๆ ไม้ที่ใช้ชักหนักขึ้นทุกที ๆ เหล่านี้เป็นต้น ขนาดของด้ามจับควรกระชับฝ่ามือให้มีความถนัดในการจับมากที่สุด ไม่ควรใหญ่เกินไปหรือเล็กเกินไป การเลือกใช้ด้ามจับที่ตนเองไม่ถนัดมีส่วนในการที่ทำให้เล่นเทนนิสได้ไม่ดีเท่าที่ควรเช่นกัน
น้ำหนักสมดุลย์ระหว่างหัวไม้กับด้ามจับ ไม้เทนนิสแต่ละยี่ห้อจะมีความสมดุลย์ในเรื่องเหล่านี้แตกต่างกันไป อย่างเช่นไม้ยี่ห้อหนึ่งหนักที่หัวไม้มากกว่าด้ามไม้ แต่ไม้อีกยี่ห้อหนึ่งหนักที่ด้ามจับมากกว่าหัวไม้ ดังนั้นผู้เล่นก็ควรจะต้องพิจารณาดูตนเองว่าชอบเล่นแบบไหน เล่นอยู่ที่ท้ายคอร์ตหรือวอลเลย์ที่หน้าเน็ต เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ การใช้ไม้เทนนิสที่หนักหัวเล่นที่ท้ายคอร์ตจะทำให้การตีลูกเป็นไปอย่างแม่นยำกว่า ้พราะน้ำหนักที่หัวไม้ช่วยในการส่งลูกได้ดีกว่า แต่พอใช้เล่นวอลเลย์ที่หน้าเน็ต ไม้ที่หนักหัวจะทำให้ตีลูกได้ช้ากว่าไม้ที่เบาที่หัวไม้ การที่ช้ากว่าแม้จะเพียงเสี้ยววินาที วินาทีก็ทำให้เกิดการตีลูกวอลเลย์ผิดจังหวะไปอย่างน่าเสียดาย
ความแข็งกระด้างและความมีสปริงของไม้ ความแข็งกระด้างและความมีสปริงของไม้ก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะไม้แต่ละยี่ห้อมักมีสิ่งเหล่านี้แตกต่างกันไป ไม้เทนนิสที่แข็งกระด้างหรือมีสปริงให้สังเกตดูได้จากคอไม้เทนนิส ว่ามีความอ่อนหรือความแข็งมากแค่ไหน ถ้าแข็งก็แสดงว่ามีความแข็งกระด้างไม่มีสปริง ถ้าคออ่อนก็แสดงว่ามีสปริง ผลของการเล่นไม้ที่มีคุณสมบัติที่กล่าวมานี้ก็แตกต่างกัน คือไม้ที่แข็งกระด้างจะไม่ช่วยผ่อนแรงผู้เล่นเลย ในขณะที่ไม้ที่มีสปริงจะช่วยผ่อนแรงและส่งลูกให้ผู้เล่นได้เป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ตามนักเทนนิสอาวุโสของวงการเทนนิสไทยผู้หนึ่งเคยบอกว่า ไม้ที่แข็งกระด้างก็มีข้อดีอยู่เหมือนกันสำหรับผู้ที่มีพลกำลังดี เพราะทำให้สามารถคำนวณแรงและตำแหน่งที่ตีไปได้ไม่ผิดพลาด
ชนิดของเอ็นที่ใช้กับไม้เทนนิส ชนิดของเอ็นมีอยู่หลายอย่างด้วยกัน คือเอ็นแท้ เอ็นเทียม และเอ็นไนลอน ซึ่งยังมีจำแนกออกไปอีกหลาย ๆ อย่างตามยี่ห้อซึ่งมีอยู่หลายยี่ห้อ คุณสมบัติของเอ็นที่กล่าวถึงนี้แตกต่างกันมาก คือเอ็นแท้จะมีสปริงมากกว่าเอ็นเทียม และเอ็นเทียมจะมีสปริงมากกว่าไนลอน แต่เอ็นไนลอนมีความคงทนมากกว่าเอ็นเทียม และเอ็นเทียมมีความคงทนมากกว่าเอ็นแท้ เอ็นจำพวกมีสปริงมาก ๆ เหมาะสมสำหรับไม้ที่มีความกระด้าง เอ็นที่มีสปริงน้อยก็เหมาะกับไม้ที่มีสปริงมาก หรือเป็นไปตามใจของผู้เล่น ว่าต้องการความมีสปริงมากแค่ไหน และใช้ไม้อย่างไร ความตึงของของการขึ้นเอ็นก็สำคัญไม่น้อยเลย ปกติแล้วร้านกีฬาในเมืองไทยจะขึ้นเอ็นตึงอย่างมากแค่ 60-70 ปอนด์ ซึ่งความจริงแล้วไม้สมัยใหม่ยังขึ้นได้ตึงกว่านั้นอีก นักเทนนิสระดับโลกมักขึ้นเอ็นตึง ๆ เพราะการขึ้นเอ็นหย่อนจะทำให้มีความยืดหยุ่นมากเกินไป และเอ็นมักรวนเวลาเล่นลูกสปริง แต่การขึ้นเอ็นตึง ๆ นั้นบางคนก็บ่นว่าทำให้มีความกระด้างและเอ็นก็จะขาดง่ายอีกด้วย
สีสันของไม้เทนนิส บางคนคิดว่าสีสันเป็นสิ่งที่ไม่สำคัญ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะจากการวิจัยพบว่าสีสันอันสวยงามของไม้เทนนิสมีผลทางจิตวิทยากับผู้เล่นอย่างมากมาย เช่นเดียวกับทฤษฎีที่ว่าสีมีอิทธิพลเหนือจิตใจมนุษย์ ยกตัวอย่างเช่น คุณมีไม้ที่คุณชอบและเล่นอยู่เป็นประจำทุกวัน แต่ต่อมาเพื่อนคุณไปซื้อแรกเก็ตใหม่มาอวด แรคเก็ตเพื่อนคุณนั้นมีสีสันสวยงาม และดูกะทัดรัดเหมาะมือดี ตอนนี้คุณก็จะเริ่มมองไม้ของคุณด้วยสายตาที่เปลี่ยนไป ต่อมาเมื่อคุณมีโอกาสยืมไม้อันนั้นมาเล่นดูบ้างด้วยจิตใจของคุณที่จดจ่ออยู่กับความสวยงามของมัน คุณก็เลยถูกอกถูกใจไปกับไม้อันนั้น ซึ่งผลของความถูกอกถูกใจจะทำให้คุณรู้สึกได้ว่าตีได้ดีขึ้น ผลสะท้อนก็กลับกลายเป็นว่าไม้อันเดิมของคุณไม่เอาไหนเลยนั่นเอง
หลักการสำคัญ ๆ ในการเลือกไม้เทนนิสประจำตัวก็มีเท่านี้ บางคนเล่นเทนนิสมานาน เมื่อเปลี่ยนไม้ดูก็พบว่าตีได้ดีขึ้น โดยพิจารณาจากหลักการกว้าง ๆ ข้างต้นนี้เอง
บทความโดย : นิตยสารเทนนิส
http://www.thaitennismagazine.com/TennisTips/NewsView.php?TopicID=21
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)