วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ผลงาน ...ขุน 53



ผลงาน ปี 2553 ได้รองชนะเลิศ
รายการกระแสร์ มีนบุรี 25 - 26 ธันวาคม  2553

วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การเลือกไม้เทนนิส

http://www.bkpsport.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538725170&Ntype=3

http://tennisfive.blogspot.com/

การจับไม้เทนนิส

http://www.blogger.com/post-create.g?blogID=3412063367110861268

การจับไม้เทนนิสที่ถูกหลัก  จะทำให้การตีลูกมีประสิทธิภาพและแม่นยำ  การจับไม้เพื่อตีลูกในลักษณะต่างๆ  จะใช้ฐานนิ้วชี้ของมือข้างที่กำไม้ สัมผัสกับด้านต่างๆ ทั้งแปดของด้ามไม้เทนนิส เป็นตัวอ้างอิง  ซึ่งด้านทั้งแปดหรือที่เรียกว่า กริพ(GRIP) ได้แก่ ส่วนบน(Top), ส่วนล่าง(Bottom), ด้านขวา(Right side), ดัานซ้าย(Left side), Bevel 1(ด้านเอียงที่ 1), Bevel 2, Bevel 3 และ Bevel 4

"กริพที่คุณจับ จะขึ้นอยู่กับว่า คุณจะตีลูกแบบไหน"
โดยพื้นฐานแล้ว  จะแบ่งกริพเพื่อใช้ตีลูกในลักษณะต่างๆ ดังต่อไปนี้
  1. CONTINENTAL GRIP  คือ กริพเดียวที่สามารถใช้ได้กับการตีทั้งหมด  แต่ก็ไม่ใช่กริพที่นิยมฝึกกันในหมู่ผู้เล่นรุ่นใหม่ๆ เพราะหากเล่นแบบพลิกแพลงเทคนิคจะทำได้ไม่ดีเท่าใดนัก  อย่างไรก็ตาม Continental grip ยังคงเป็นพื้นฐานของการใช้เสิร์ฟ, การวอลเล่ย์, การ Smash หรือตีลูกเหนือศีรษะ, การตีลูกสไลด์  และการตีลูกเพื่อการป้องกัน
    การจับ:  จับด้ามไม้โดยให้ตำแหน่งของฐานนิ้วชี้อยู่บนด้านเอียงที่ 1 (bevel 1)  หรือ Bevel 4 สำหรับคนตีมือซ้าย
    ข้อดี:  ลูกที่ตีออกเป็นแบบ flat ที่พุ่งตรงและแรง  การช่วยในเกมส์รับได้ดี โดยเฉพาะจังหวะที่ต้องการความรวดเร็ว  เป็นกริพมาตรฐานที่ใช้ในการเสิร์ฟและการวอลเล่ย์ของนักเทนนิส
    ข้อเสีย:  เป็นเรื่องยากที่จะใช้ตีลูกแบบ topspin  นั่นหมายถึง การตีลูกที่ตำ่กว่าระดับเน็ตจะทำได้ไม่ดีเท่าไรนัก
  2. EASTERN FOREHAND GRIP
    การจับ:  จับด้ามไม้โดยให้ตำแหน่งของฐานนิ้วชี้อยู่บนด้านขวาของด้าม(right side)  หรือ Left side สำหรับคนตีมือซ้าย  วิธีง่ายๆ ที่ใช้หา Eastern Forehand Grip  คือ ให้ทาบฝ่ามือข้างที่ใช้ตีลงบนหน้าไม้เทนนิส(บนหน้าเอ็น)  แล้วรูดฝ่ามือลงมาหาด้ามไม้ที่จับ  จะพบว่าฐานของนิ้วชี้จะตรงกับตำแหน่งของ Eastern forehand grip
    ข้อดี:  อาจจะเรียกได้ว่าเป็นกริพที่ง่ายที่สุดสำหรับการตีลูกโฟแฮนด์  การตีลูกได้ทั้งแบบ topspin หรือแบบ flat  การเปลี่ยนจาก Eastern forehand grip ไปเป็นกริพอื่นๆ ทำได้สะดวกรวดเร็ว  ทำให้เป็นทางเลือกที่ฉลาดของผู้เล่นที่นิยมขึ้นตีหน้าเน็ต
    ข้อเสีย:  จุดตีจะกว้างออกไปมากกว่า Continental grip  การตีลูกสูงทำได้ไม่ดีเท่าไรนัก  และลูกที่ตีมีแนวโน้มทีจะเป็น flat มากกว่า  ลูกจะติด topspin ได้ไม่เต็มที่
  3. SEMI-WESTERN FOREHAND GRIP
    การจับ:  จาก Eastern forehand grip ให้หมุนข้อมือในทิศทางตามเข็มนาฬิกามาอีก 1 ช่อง(bevel)  สำหรับคนตีซ้าย ให้หมุนทวนเข็มนาฬิกา
    ข้อดี:  การตีลูกแบบ topspin ทำได้ดีกว่ากริพที่ผ่านมา  ซึ่งทำให้ลูกมีโอกาสโค้งผ่านหน้าเน็ตมากกว่า
    ข้อเสีย
    :  มักประสบกับปัญหากับการตีลูกที่ต่ำและใกล้ตัว
  4. WESTERN FOREHAND GRIP  คือ  กริพสุดท้าย(สุดโต่ง) ของการตีลูกโฟร์แฮนด์  นิยมใช้กันในหมู่ผู้เล่นบนคอร์ดดิน และเยาวชนรุ่นใหม่ๆ  นักเทนนิสมืออาชีพที่ใช้ เช่น  Rafael Nadal
    การจับ:  จาก Semi-Western forehand grip  ให้หมุนข้อมือในทิศทางตามเข็มนาฬิกามาอีก 1 ช่อง(bevel)  สำหรับคนตีซ้ายให้หมุนในทิศทางตรงกันข้าม
    ข้อดี: แรงจากการตวัดข้อมือที่จับโดยกริพนี้  จะติด topspin ได้รุนแรงที่สุด  ลูกที่กระทบพื้นจะกระดอนออกต่อค่อนข้างแรง  มีโอกาสให้ฝ่ายตรงข้ามต้ิองถอยกลับไปตั้งรับหลังเส้นลึกขึ้น
    ข้อเสีย:  ลูกบอลจากฝั่งตรงข้ามที่ตีมากระทบพื้นแล้วกระดอนต่ำและเร็ว(โดยเฉพาะบนฮาร์ดคอร์ต)  เป็นอุสรรคต่อผู้่เล่นที่จับกริพนี้เป็นอย่างมาก  ด้วยเหตุผลที่ว่า ผู้เล่นต้องใช้ความรวดเร็วในการสโตรค(stroke) บวกกับกำลังข้อมือมหาศาล  ในการตีบอลที่จุดกระทบและ topspin ให้ทัน
  5. EASTERN BACKHAND GRIP
    การจับ:  วางฐานของนิ้่วชี้ที่ส่วนบนสุดของกริพ(top)
    ข้อดี:  เป็นกริพอเนกประสงค์ของการตีลูกแบคแฮนด์  ผู้เล่นบางคนใช้ตีลูกสไลด์ หรือไม่เช่นนั้นก็สามารถพลิกไปเป็น Continental grip ได้อย่างรวดเร็ว  Eastern backhand grip ยังใช้เป็นกริพสำหรับการเสิร์ฟแบบ Kick serves
    ข้อเสีย:  การตีลูกที่พุ่งมาสูงกว่าระดับไหล่ทำได้ไม่ค่อยดีนัก  บ่อยครั้งที่ทำให้ผู้เล่นต้องตีลูกแบบสไลด์กลับไปโดยบังคับ  รวมไปถึงจุดอ่อนของ Kick serves  ที่ฝั่งตรงข้ามมักจะรีเทิร์นลูกกลับมาในช่วงจุดตีที่สูงกว่าระดับไหล่
  6. EXTREME EASTERN OR SEMI-WESTERN BACKHAND GRIP
    การจับ:  ที่ bevel 4 สำหรับมือขวา  หรือ bevel 1 สำหรับมือซ้าย
    ข้อดี:  จุดที่ขยายออกไป  ทำให้การตีลูกที่สูงกว่าระดับไหล่ทำได้คล่องกว่ากริพแบคแฮนด์ที่ผ่านมา รวมถึงการ topspin
    ข้อเสีย:  คล้ายกันกับการจับ Weatern forehand grip  ตรงที่ตีลูกต่ำได้ไม่ค่อยดี
  7. TWO-HAND BACKHAND GRIP
    การจับ:  วิธีจับสำหรับการตีลูกแบคแฮนด์สองมือวิธีหนึ่ง  คือ ใช้มือขวาจับไม้ที่ Continental grip ช่วงด้านบน  และมือซ้ายจับไม้ที่ Semi-Western forehand grip ช่วงด้านล่าง(สำหรับคนถนัดซ้ายให้จับตรงกันข้ามกัน)
    ข้อดี:  เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนที่ไม่แข็งแรงพอที่จะตีแบคแฮนด์มือเดียว  สามารถตีลูกพุ่งต่ำได้ดี รวมถึงการตีลูกระดับไหล่ที่ใช้ทั้งสองมือประคองช่วยกัน
    ข้อเสีย:  ช่วงตีสั้นกว่าการตีแบคแฮนด์มีเดียว  การมีมือข้างที่สองช่วยประคองเป็นการล็อคหน้าไม้ไว้ ทำให้ไม่สามารถตีลูกวอลเลย์และลูกสไลด์ได้

การเลือกจับด้านกริพ  ให้คำนึงถึงธรรมชาติในตัวคุณ(คุณเป็นผู้รู้ตัวดีที่สุด)  หาด้านกริพที่ทำให้คุณรู้สึกสบายและเข้ากับตัวคุณมากที่สุดเวลาเล่น  นั่นแหละคือกริพของคุณ


0 ความคิดเห็น
ประเภทการตีลูกเทนนิส  แบ่งออกเป็น  8 ชนิด หลักๆ ดังนี้
  1. การตีลูกโฟรแฮนด์ (Forehand Shot)
  2. การตีลูกแบคแฮนด์ (Backhand Shot)
  3. การเสิร์ฟ (Tennis Serve)
  4. การตีลูกวอลเล่ย์ (Volleying)
  5. การตีลูกแบบ Smash
  6. การตีลูกแบบ Lob
  7. การตี Drop shot
  8. Hit it Through your legs(การตีลอดหว่างขา)
การมีทักษะในการตีลูกแต่ละประเภท จะทำให้ผู้เล่นเทนนิสมีความคล่องตัว และมีความหลากหลายในการเล่นทั้งการรุกและรับ


http://www.thaitennismagazine.com/TennisTips/TennisTipsIndex.php


Tennis Tipsบทความเกี่ยวกับเทนนิส | เทคนิคการเล่นเทนนิส | กฎกติกาเกี่ยวกับเทนนิส | ค้นหาบทความ
บทความ
ผู้เขียน
ประเภท
Update
ยุทธการเล่นคู่ (7927)
เบ็ญจ์ - จิตตภาวดี
เทคนิคการเล่นเทนนิส
2003-06-05
ทีมในฝันของฟิช (1845)
นาตาลี
บทความเกี่ยวกับเทนนิส
2003-04-13
คะแนนสะสมแม็กกาซีนจูเนียร์ทัวร์เพื่ออะไร (3394)
ทิพวรรณ นาจาน
บทความเกี่ยวกับเทนนิส
2003-03-26
Short Set (3781)
ทิพวรรณ นาจาน
กฎกติกาเกี่ยวกับเทนนิส
2003-02-27
เมนดรอว์ คัดเลือก สิทธิพิเศษ คืออะไร (3359)
ทิพวรรณ นาจาน
กฎกติกาเกี่ยวกับเทนนิส
2003-02-24
จะเลือกใช้ไม้เทนนิสอย่างไรดี (10418)
นิตยสารเทนนิส
เทคนิคการเล่นเทนนิส
2002-11-23
ค่านิยมสังคมเทนนิส (4422)
นิตยสารเทนนิส
บทความเกี่ยวกับเทนนิส
2002-11-23
หลอบวอลเลย์ (5374)
นิตยสารเทนนิส
เทคนิคการเล่นเทนนิส
2002-11-22
อยากลงแข่งกะเขาบ้างแต่ไม่รู้อะไรเลย (4293)
นิตยสารเทนนิส
บทความเกี่ยวกับเทนนิส
2002-11-22
วอลเลย์ในระดับสูง-วอลเลย์ลูกระดับต่ำและฮาล์ฟวอลเลย์ (7077)
นิตยสารเทนนิส
เทคนิคการเล่นเทนนิส
2002-11-22
น้ำหนึ่งแก้วทำให้เสิร์ฟดีขึ้น (6604)
นิตยสารเทนนิส
เทคนิคการเล่นเทนนิส
2002-11-22
แอนดี รอดดิก ทายาทอเมริกันคนต่อไป (2519)
นาตาลี
บทความเกี่ยวกับเทนนิส
2002-08-30
เมื่อไรที่ควรเปลี่ยนเกมการเล่น (4796)
นิตยสารเทนนิส
เทคนิคการเล่นเทนนิส
2002-08-30
เล่นเทนนิสอย่างไรให้ดีขึ้น (11321)
นิตยสารเทนนิส
เทคนิคการเล่นเทนนิส
2002-08-30
Mini Tennis Thailand (2452)
นาตาลี
บทความเกี่ยวกับเทนนิส
2002-05-10
เอ็นขาดระหว่างการเสิร์ฟ (3640)
ทิพวรรณ นาจาน
กฎกติกาเกี่ยวกับเทนนิส
2002-04-10
กติกาน่ารู้ (7480)
ทิพวรรณ นาจาน
กฎกติกาเกี่ยวกับเทนนิส
2001-11-10
เสริฟเสีย (5340)
ทิพวรรณ นาจาน
กฎกติกาเกี่ยวกับเทนนิส
2001-10-10
มุมส่วนตัวของนักเทนนิสชายระดับโลก (4291)
นิตยสารเทนนิส
บทความเกี่ยวกับเทนนิส
2001-03-30
มุมส่วนตัวของนักเทนนิสหญิงดังระดับโลก (3327)
นิตยสารเทนนิส
บทความเกี่ยวกับเทนนิส
2001-03-30
ความสำเร็จของพี่น้องตระกูลวิลเลียมส์จะช่วยสร้างประวัติการณ์ทางกีฬา (2480)
นิตยสารเทนนิส
บทความเกี่ยวกับเทนนิส
2001-04-10

บทความเกี่ยวกับเทนนิส | เทคนิคการเล่นเทนนิส | กฎกติกาเกี่ยวกับเทนนิส | ค้นหาบทความ
http://www.blogger.com/post-create.g?blogID=3412063367110861268

การเปลี่ยนเกมการเล่น


เมื่อไรที่ควรเปลี่ยนเกมการเล่น ไม่เคยมีใครรู้สึกดีเวลาที่ยุทธวิธีเล่นเริ่มแรกของตนกำลังสั่นคลอน ขณะที่คู่ต่อสู้เป็นฝ่ายคุมเซ็ตแรกเสียอยู่หมัด นักเทนนิสส่วนใหญ่จะรู้สึกหวั่นไหวและหมดกำลังใจตรงนี้ แต่จริง ๆ แล้วเป็นช่วงที่เราควรจะมองในแง่ดีเสียมากกว่า หลักสำคัญในการแข่งเทนนิสก็คือการหาวิธีโต้ตอบคู่ต่อสู้ให้ได้ ถ้าเรายังอยากคุมอารมณ์ให้ได้ ในตอนนั้นก็ควรสังเกตดูว่าทำไมเราจึงยังเสียแต้มอยู่อย่างนี้ และอย่ายอมแพ้เด็ดขาด
ก่อนที่จะตัดสินใจเปลี่ยนยุทธวิธีการเล่นขณะแข่งขันที่รูปการปรากฏออกมาว่าเรากำลังจะแพ้แน่ ๆ เราควรจะมั่นใจเสียก่อนว่าปัญหาที่แท้จริงอยู่ที่ยุทธวิธีการเล่น ไม่ใช่ปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับเกมของเรา เพราะฉะนั้นหากเรากำลังอยู่ในสถานการณ์คับขัน ให้ถามตัวเอง 3 ข้อต่อไปนี้

1. จิตใจของเรามั่นคงดีหรือไม่
ถ้าทัศนคติและสมาธิของเรากำลังย่ำแย่อยู่ในขณะนั้น ไม่ว่าจะเปลี่ยนยุทธวิธีการเล่นอย่างไรก็คงจะไม่ได้ผลอย่างแน่นอน ดังนั้นควรจะเน้นควบคุมปรับปรุงทางด้านจิตใจ และคงเล่นยุทธวิธีเดิมต่อไป

2. เราวอร์มอัพและจดจ่ออยู่กับการแข่งขันอย่างเต็มที่หรือยัง
ถ้าเราเริ่มแมตช์ด้วยการพลาดเองอย่างง่าย ๆ เป็นส่วนใหญ่ ก็อาจเป็นได้ว่าเครื่องเรายังไม่ติดและยังไม่ทันตั้งตัว เราอาจพบว่าแมตช์กำลังจะพลิกเกมตอนที่เราเริ่มเหงื่อออกแล้ว ถ้าเป็นอย่างนั้นก็ให้หาจังหวะของเราและเริ่มปฏิบัติการอย่างเต็มที่ได้เลย

3. คู่ต่อสู้เรากำลังฮอตแบบชั่วคราวหรือเปล่า
อย่าเร่งเปลี่ยนเกมการเล่นเพียงเพราะว่าคู่ต่อสู้ของเราเริ่มต้นแมตช์ได้สวยด้วยการอาศัยโชคเพียงไม่กี่ช็อต ถ้าเรารู้จุดอ่อนของคู่ต่อสู้แล้วก็อย่าปล่อยให้ลูกวินเนอร์เหล่านั้นมาขัดขวางให้เราลังเลในการโจมตีจุดอ่อนของเขา

หากเราลองสังเกตดูแล้วปรากฏว่าไม่เข้าข่ายในสามข้อข้างต้นเลย ก็อาจถึงเวลาแล้วที่ควรปรับยุทธวิธีการเล่น อย่างไรก็ตามควรพิจารณาถึงข้อแนะนำต่อไปนี้
*ควรให้โอกาสกับยุทธวิธีดั้งเดิมของเราเสมอ
ถ้าคู่ต่อสู้สามารถหาทางโต้ตอบยุทธวิธีของเราตอนต้นแมตช์ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเขาคงจะฮอตอยู่แค่ไม่กี่เกม แต่ในที่สุดความเป็นจริงก็จะเริ่มขึ้น และยุทธวิธีของเราก็เริ่มได้ผล บ่อยครั้งหากเราเครียดกับจุดอ่อน คู่ต่อสู้ก็จะจู่โจมทำแต้ม ให้ยึดทัศนะนี้ไว้ตลอดเซ็ตที่หนึ่ง ถ้าเราเสียเซ็ตแรก ทีนี้ก็ถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนเกมการเล่นแล้ว
ทัศนะอันนี้ทำให้แพทริค ราฟเตอร์ สามาถเข้าถึงรอบรองฯเฟร้นโอเพน และคว้าแชมป์ยูเอสโอเพน ในปีค.ศ. 1997 เขายึดติดอยู่กับแผนการเล่นในการเสริฟและขึ้นวอลเลย์ ไม่หวั่นไหวเปลี่ยนไปยึดเกมท้ายคอร์ตเพียงเพราะคู่ต่อสู้ของเขาตีพาสซิงช็อตอันงดงามมาเพียงไม่กี่ลูก

*อย่าเปลี่ยนยุทธวิธีจนต่างจากจุดที่ตัวเองถนัดอย่างสิ้นเชิง
อย่าลืมตัวว่าเกมการเล่นแบบไหนที่เราถนัด ถ้าเราถนัดเล่นท้ายคอร์ต และไม่เก่งหน้าเน็ตเอาเสียเลย ก็ไม่ต้องเปลี่ยนถึงขั้นเสิร์ฟวอลเลย์ในทุก ๆ แต้ม

*เก็บเอาเงื่อนไขรอบ ๆ ตัวมาพิจารณาด้วย
ถ้าอากาศร้อนมาก โดยเราคาดว่าจะต้องอ่อนแรงอย่างแน่นอนหากแรลลีกันนาน ๆ ก็ให้วางแผนเล่นอย่างชาญฉลาด เช่น ชิพแอนด์ชาร์ตทุกจังหวะที่เรามีโอกาส เพื่อให้แต่ละแต้มกินเวลาน้อยลง

*เตรียมแผนสำรองไว้มากกว่าหนึ่ง
การเปลี่ยนยุทธวิธีระหว่างการแข่งขันจะง่ายขึ้น หากเราเตรียมคิดถึงวิธีพิชิตคู่ต่อสู้มามากกว่าหนึ่ง นี่ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ว่าทำไมการเล่นเกมได้อย่างสมบูรณ์จึงได้เปรียบ พีท แซมปราส เป็นผู้เล่นคนหนึ่งที่เอาชนะได้ยากก็เพราะเขาสามารถเอาชนะคู่ต่อสู้ได้ไม่ว่าจะด้วยการเสิร์ฟ-วอลเลย์หรือปักหลักท้ายคอร์ต

*ต้องมั่นใจว่าทัศนะและความเอาจริงของเรายังมั่นคงไม่เปลี่ยนแปลงไปตามยุทธวิธีเ
หากเราหวั่นไหวโอดครวญไปกับการเปลี่ยนยุทธวิธี คู่ต่อสู้เราก็จะเป็นฝ่ายได้เปรียบ ในทางกลับกัน หากเราสนุกไปกับเกมการเล่นใหม่นี้ ก็จะเป็นการทำลายคู่ต่อสู้แทน อีกประการหนึ่งที่สำคัญ ถ้าเราไม่ทุ่มเทจิตใจและวิญญาณให้กับการแข่งขัน ความสามารถในตัวของเราก็จะไม่ปรากฏออกมา

หากเราต้องการชัยชนะในการแข่งขันเทนนิส ก็ต้องรู้จักการปรับเล็กน้อยสำหรับยุทธวิธีการเล่นดั้งเดิมของเรา อย่าเปลี่ยนเกมการเล่นเร็วจนเกินไป และอย่าเสี่ยงเล่นในรูปแบบที่เราไม่ถนัด ถ้าทำได้ตามนี้เราก็จะค้นพบว่าเป็นการน่าพึงพอใจแค่ไหนในการเปลี่ยนแผนการเดิม เพื่อกลับมาเป็นฝ่ายคุมเกมและชนะการแข่งขันในที่สุด


บทความโดย : นิตยสารเทนนิส

วงสนทนาของเทนนิส


ค่านิยมสังคมเทนนิส แน่นอนว่าเวลาเราอยู่ในสังคมใดก็ตาม หากไม่รู้จักปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นก็อาจถูกจัดให้อยู่ในข่ายของบุคคลไม่พึงประสงค์ได้ ต่อไปนี้เป็นมารยาทในการเล่นและแข่งขันเทนนิสเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เรานำมาฝาก จะได้ไม่ถูกแบนด์จากสังคมคนรักเทนนิส 1. อย่าพยายามพูดถึงข้อเสียในการตีลูกโฟรแฮนด์หรือแบคแฮนด์ของผู้ที่เล่นกับท่าน โดยที่เขาไม่ได้ถาม
2. อย่าพยายามพูดถึงชัยชนะของตนเองบ่อย ๆ ในวงสนทนา
3. อย่าคุยกับผู้ชนะว่า ท่านก็รู้จุดอ่อนของคู่ต่อสู้ของเขาเหมือนกัน
4. เวลาเล่นคู่กับคนที่เก่งกว่าท่าน อย่าแย่งเล่นคอร์ตแบคแฮนด์ นอกจากท่านถนัดมือซ้าย
5. เวลาหมดเกมคู่ อย่าหยุดกินน้ำหรือถ่วงเวลาการแข่งขัน
6. อย่าเดินทอดน่องผ่านหลังคอร์ตในขณะที่เขากำลังเล่นหรือแข่งขันอยู่
7. อย่าเล่นแต่เฉพาะกับมือดี ๆ เท่านั้น บางครั้งควรให้โอกาสแก่สุภาพสตรี เด็ก หรือมือที่อ่อนกว่าเล่นด้วยบ้าง
8. ถ้าคอร์ตอื่นมี 4 คนอยู่แล้ว คอร์ตท่านขาดคน อย่าพยายามไปตื๊อเขามา
9. เทนนิสเป็นเกมที่มีความสง่าและงดงาม ฉะนั้นอย่าลงไปในคอร์ตด้วยเสื้อผ้าที่เปื้อนเปรอะสกปรกหรือไม่เหมาะสม
10. ต่อหน้าแขก อย่าพยายามวิจารณ์ผู้เล่นที่มีชื่อเสียงให้เขาฟัง
11. อย่าออกความเห็นเกี่ยวกับลูกที่เราตีไปฝั่งตรงข้ามว่าดีหรือออก
12. อย่าพยายามพูดวิจารณ์เกมกับผู้แพ้ ถ้าเขาไม่ได้ถาม
13. เวลาพาร์ทเนอร์ตีไม่ดี อย่าซ้ำเติม เพราะทุกคนล้วนอยากเล่นให้ดีที่สุดกันทั้งนั้น 14. อย่าเล่นฟรี โดยไม่ยอมเสียค่าบำรุงให้แก่สมาคมหรือสโมสรนั้น ๆ ตามระเบียบ

บทความโดย : นิตยสารเทนนิส

การเลือกไม้เทนนิส


จะเลือกใช้ไม้เทนนิสอย่างไรดี

การเลือกใช้ไม้เทนนิสให้เหมาะสมกับตัวเองมีความสำคัญมาก ไม้เทนนิสยี่ห้อหนึ่งอาจจะเหมาะสมกับคนหนึ่ง แต่อาจจะไม่เหมาะสมสำหรับอีกคนก็ได้ หลักการเลือกแรคเก็ตที่สำคัญที่สุดควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ คือ น้ำหนัก ขนาดของด้ามจับ น้ำหนักสมดุลย์ระหว่างหัวไม้กับด้ามจับ ชนิดของเอ็นและสีสัน ความแข็งกระด้างและความมีสปริงของไม้
น้ำหนักของไม้ จำเป็นที่ผู้ใช้จะต้องตัดสินใจในการเลือกซื้อให้ดี ให้มีความเหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด ไม่ใช่ใช้ไม้หนักเกินไปหรือเบาเกินไป อนึ่ง เราควรจะคิดถึงกำลังของตนเองด้วยว่าจะคอนน้ำหนักไปได้แค่ไหน เพราะบางทีในการเล่นเกมแรก ๆ ไม้ก็ยังเหมาะมือดีอยู่ แต่พอไปเกมหลัง ๆ ไม้ที่ใช้ชักหนักขึ้นทุกที ๆ เหล่านี้เป็นต้น ขนาดของด้ามจับควรกระชับฝ่ามือให้มีความถนัดในการจับมากที่สุด ไม่ควรใหญ่เกินไปหรือเล็กเกินไป การเลือกใช้ด้ามจับที่ตนเองไม่ถนัดมีส่วนในการที่ทำให้เล่นเทนนิสได้ไม่ดีเท่าที่ควรเช่นกัน
น้ำหนักสมดุลย์ระหว่างหัวไม้กับด้ามจับ ไม้เทนนิสแต่ละยี่ห้อจะมีความสมดุลย์ในเรื่องเหล่านี้แตกต่างกันไป อย่างเช่นไม้ยี่ห้อหนึ่งหนักที่หัวไม้มากกว่าด้ามไม้ แต่ไม้อีกยี่ห้อหนึ่งหนักที่ด้ามจับมากกว่าหัวไม้ ดังนั้นผู้เล่นก็ควรจะต้องพิจารณาดูตนเองว่าชอบเล่นแบบไหน เล่นอยู่ที่ท้ายคอร์ตหรือวอลเลย์ที่หน้าเน็ต เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ การใช้ไม้เทนนิสที่หนักหัวเล่นที่ท้ายคอร์ตจะทำให้การตีลูกเป็นไปอย่างแม่นยำกว่า ้พราะน้ำหนักที่หัวไม้ช่วยในการส่งลูกได้ดีกว่า แต่พอใช้เล่นวอลเลย์ที่หน้าเน็ต ไม้ที่หนักหัวจะทำให้ตีลูกได้ช้ากว่าไม้ที่เบาที่หัวไม้ การที่ช้ากว่าแม้จะเพียงเสี้ยววินาที วินาทีก็ทำให้เกิดการตีลูกวอลเลย์ผิดจังหวะไปอย่างน่าเสียดาย
ความแข็งกระด้างและความมีสปริงของไม้ ความแข็งกระด้างและความมีสปริงของไม้ก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะไม้แต่ละยี่ห้อมักมีสิ่งเหล่านี้แตกต่างกันไป ไม้เทนนิสที่แข็งกระด้างหรือมีสปริงให้สังเกตดูได้จากคอไม้เทนนิส ว่ามีความอ่อนหรือความแข็งมากแค่ไหน ถ้าแข็งก็แสดงว่ามีความแข็งกระด้างไม่มีสปริง ถ้าคออ่อนก็แสดงว่ามีสปริง ผลของการเล่นไม้ที่มีคุณสมบัติที่กล่าวมานี้ก็แตกต่างกัน คือไม้ที่แข็งกระด้างจะไม่ช่วยผ่อนแรงผู้เล่นเลย ในขณะที่ไม้ที่มีสปริงจะช่วยผ่อนแรงและส่งลูกให้ผู้เล่นได้เป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ตามนักเทนนิสอาวุโสของวงการเทนนิสไทยผู้หนึ่งเคยบอกว่า ไม้ที่แข็งกระด้างก็มีข้อดีอยู่เหมือนกันสำหรับผู้ที่มีพลกำลังดี เพราะทำให้สามารถคำนวณแรงและตำแหน่งที่ตีไปได้ไม่ผิดพลาด
ชนิดของเอ็นที่ใช้กับไม้เทนนิส ชนิดของเอ็นมีอยู่หลายอย่างด้วยกัน คือเอ็นแท้ เอ็นเทียม และเอ็นไนลอน ซึ่งยังมีจำแนกออกไปอีกหลาย ๆ อย่างตามยี่ห้อซึ่งมีอยู่หลายยี่ห้อ คุณสมบัติของเอ็นที่กล่าวถึงนี้แตกต่างกันมาก คือเอ็นแท้จะมีสปริงมากกว่าเอ็นเทียม และเอ็นเทียมจะมีสปริงมากกว่าไนลอน แต่เอ็นไนลอนมีความคงทนมากกว่าเอ็นเทียม และเอ็นเทียมมีความคงทนมากกว่าเอ็นแท้ เอ็นจำพวกมีสปริงมาก ๆ เหมาะสมสำหรับไม้ที่มีความกระด้าง เอ็นที่มีสปริงน้อยก็เหมาะกับไม้ที่มีสปริงมาก หรือเป็นไปตามใจของผู้เล่น ว่าต้องการความมีสปริงมากแค่ไหน และใช้ไม้อย่างไร ความตึงของของการขึ้นเอ็นก็สำคัญไม่น้อยเลย ปกติแล้วร้านกีฬาในเมืองไทยจะขึ้นเอ็นตึงอย่างมากแค่ 60-70 ปอนด์ ซึ่งความจริงแล้วไม้สมัยใหม่ยังขึ้นได้ตึงกว่านั้นอีก นักเทนนิสระดับโลกมักขึ้นเอ็นตึง ๆ เพราะการขึ้นเอ็นหย่อนจะทำให้มีความยืดหยุ่นมากเกินไป และเอ็นมักรวนเวลาเล่นลูกสปริง แต่การขึ้นเอ็นตึง ๆ นั้นบางคนก็บ่นว่าทำให้มีความกระด้างและเอ็นก็จะขาดง่ายอีกด้วย
สีสันของไม้เทนนิส บางคนคิดว่าสีสันเป็นสิ่งที่ไม่สำคัญ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะจากการวิจัยพบว่าสีสันอันสวยงามของไม้เทนนิสมีผลทางจิตวิทยากับผู้เล่นอย่างมากมาย เช่นเดียวกับทฤษฎีที่ว่าสีมีอิทธิพลเหนือจิตใจมนุษย์ ยกตัวอย่างเช่น คุณมีไม้ที่คุณชอบและเล่นอยู่เป็นประจำทุกวัน แต่ต่อมาเพื่อนคุณไปซื้อแรกเก็ตใหม่มาอวด แรคเก็ตเพื่อนคุณนั้นมีสีสันสวยงาม และดูกะทัดรัดเหมาะมือดี ตอนนี้คุณก็จะเริ่มมองไม้ของคุณด้วยสายตาที่เปลี่ยนไป ต่อมาเมื่อคุณมีโอกาสยืมไม้อันนั้นมาเล่นดูบ้างด้วยจิตใจของคุณที่จดจ่ออยู่กับความสวยงามของมัน คุณก็เลยถูกอกถูกใจไปกับไม้อันนั้น ซึ่งผลของความถูกอกถูกใจจะทำให้คุณรู้สึกได้ว่าตีได้ดีขึ้น ผลสะท้อนก็กลับกลายเป็นว่าไม้อันเดิมของคุณไม่เอาไหนเลยนั่นเอง
หลักการสำคัญ ๆ ในการเลือกไม้เทนนิสประจำตัวก็มีเท่านี้ บางคนเล่นเทนนิสมานาน เมื่อเปลี่ยนไม้ดูก็พบว่าตีได้ดีขึ้น โดยพิจารณาจากหลักการกว้าง ๆ ข้างต้นนี้เอง



บทความโดย : นิตยสารเทนนิส
http://www.thaitennismagazine.com/TennisTips/NewsView.php?TopicID=21

Main Draw


เมนดรอว์ คัดเลือก สิทธิพิเศษ คืออะไร รอบเมนดรอว์ (Main Draw) คือ กลุ่มนักกีฬาที่มีอันดับดีที่สุดในจำนวนนักกีฬาที่สมัครเข้าร่วมการแข่งขันจำนวนหนึ่ง
รอบคัดเลือก (Qualifying) คือ กลุ่มนักกีฬาที่มีอันดับรองมาจากนักกีฬากลุ่มแรกในจำนวนนักกีฬาที่สมัครเข้าร่วมการแข่งขัน นักกีฬากลุ่มนี้จะต้องแข่งขันกันเพื่อให้เข้าสู่รอบเมนดรอว์ต่อไป ซึ่งจำนวนนักกีฬาจากรอบคัดเลือกจะเข้ารอบเมนดรอว์ ขอให้ดูที่จำนวนนักกีฬา
รอบก่อนคัดเลือก (Pre-Qualifying) คือ กลุ่มนักกีฬาที่เหลือจากสองกลุ่มแรกที่มีอันดับหรือไม่มีอันดับก็ตาม นักกีฬากลุ่มนี้จะต้องแข่งขันกันเพื่อให้เข้าสู่รอบคัดเลือก และพยายามเล่นให้ชนะเพื่อเข้ารอบเมนดรอว์ต่อไป ซึ่งจำนวนนักกีฬาจากรอบก่อนคัดเลือกจสู่ะเข้ารอบคัดเลือก ขอให้ดูที่จำนวนนักกีฬา

สิทธิพิเศษ (Wild Cards)
1.1 หมายถึง นักกีฬาที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือกจากคณะกรรมการจัดการแข่งขัน ให้เข้าร่วมการแข่งขันในเมดรอว์ และหรือในรอบคัดเลือก (กรณีที่มีการแข่งขันรอบก่อนรอบคัดเลือก) โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการสมัครเข้าร่วมการแข่งขัน หรือกระบวนการแข่งขันในรอบคัดเลือก และหรือรอบก่อนรอบคัดเลือก
1.2 ผู้ได้รับสิทธิพิเศษนี้ ต้องเป็นผู้ที่ไม่ตกรอบจากการแข่งขันรอบคัดเลือก หรือรอบก่อนรอบคัดเลือก ในการแข่งขันรายการนั้น ๆ

ลัคกี้ลูสเซอร์ (Lucky Losers)
1.1 หมายถึงผู้แพ้ในการแข่งขันรอบคัดเลือกสุดท้าย หรือรอบก่อนรอบคัดเลือกรอบสุดท้าย ซึ่งมีอันดับดีที่สุด ได้สิทธิเข้าร่วมการแข่งขันในเมนดรอว์ หรือในรอบคัดเลือก กรณีที่ผู้มีสิทธิในเมนดรอว์ หรือในรอบคัดเลือกถอนตัวจากการแข่งขันรอบแรก หรือในแมตช์แรกที่ผู้นั้นลงแข่งขัน
1.2 ลัคกี้ลูสเซอร์ จะต้องลงชื่อรายงานตัวตามกำหนดหากไม่มีผู้แพ้ในรอบคัดเลือกสุดท้าย หรือในรอบก่อนรอบคัดเลือกรอบสุดท้าย ลงชื่อรายงานตัวตามกำหนด อนุโลมให้ผู้แพ้ในรอบก่อนหน้านี้ เป็นลัคกี้ลูสเซอร์

จำนวนผู้แข่งขันในประเภทต่างๆ จะแบ่งตามขนาดสายการแข่งขันที่แตกต่างกัน โดยจำนวนนักกีฬาในข้อนี้พื้นฐานมาจากระเบียบการแข่งขันของ “แม็กกาซีนจูเนียร์ทัวร์” ดังนี้
ขนาดของสายการแข่งขัน
16
32
64
สิทธิพิเศษ
2
4
8
ผู้มาจากรอบคัดเลือก
4
8
8
นักกีฬาที่มีสิทธิ์โดยอันดับ
10
20
48


การกำหนดจำนวนผู้เล่นในแต่ละสายการแข่งขันจะขึ้นอยู่กับผู้จัดการแข่งขันนั้นๆ ว่าจะกำหนดจำนวนเท่าไหร่เพียงพอกับจำนวนวันที่กำหนดในการแข่งขันหรือไม่

บทความโดย : ทิพวรรณ นาจาน
http://www.thaitennismagazine.com/TennisTips/NewsView.php?TopicID=25

คะแนนสะสมแม็กกาซีนจูเนียร์ทัวร์เพื่ออะไร เจตนารมณ์หลักของนิตยสารเทนนิสในการจัดการแข่งขันเทนนิสแม็กกาซีนจูเนียร์ทัวร์ คือ การสร้างความกระตือรือล้นและมีจุดมุ่งหมายในการฝึกซ้อม ส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างนักกีฬากับนักกีฬา ผู้ปกครองกับผู้ปกครอง และที่สำคัญคือความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัว
เจตนารมณ์สำคัญอีกข้อคือ การสนับสนุนส่งเสริมให้นักเทนนิสเยาวชนมีโอกาสเข้าร่วมการแข่งขันเทนนิสเยาวชนนานาชาติ ทั้งที่จัดภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเปิดโอกาสให้นักเทนนิสเยาวชนไทยมีอันดับในทำเนียบนักเทนนิสเยาวชนโลกของสหพันธ์เทนนิสนานาชาติ (ITF) ด้วยการส่งนักกีฬาที่มี่คะแนนที่ดีที่สุดที่เข้าร่วมการแข่งขันเทนนิสในแม็กกาซีนจูเนียร์ทัวร์ และแม็กกาซีนจูเนียร์ซีรี่ส์ในรุ่น 18 ปี ทั้งชายและหญิงประเภทละ 1 คน เพื่อส่งไปแข่งขันเทนนิสเยาวชนนานาชาติในตอนปลายปีหลังจากจบการแข่งขันทั้งปีของการแข่งขันเทนนิสแม็กกาซีนจูเนียร์ นอกจากนี้ยังใช้คะแนนสะสมพิจารณาการให้สิทธิพิเศษในการแข่งขันเทนนิสเยาวชนนานาชาติในประเทศอีกด้วย
ที่พิเศษเพิ่มขึ้นมาในปีนี้คือ นักกีฬาที่เข้าแข่งขันในรุ่นอายุไม่เกิน 14 ปี ที่มีคะแนนที่ดี่สุดทั้งชายและหญิงมีสิทธิในการเข้าร่วมการฝึกซ้อมเทนนิส Magazine Training Camp ครั้งที่ 2/2003 ที่โรงแรมสยามเบย์ชอว์ รีสอร์ต พัทยา ระหว่างวันที่ 4-10 ตุลาคม 2546 ฟรีๆๆ
ดังนั้น นิตยสารเทนนิส จึงกำหนดวิธีคัดสรรคือนักเทนนิสที่มีคะแนนรวมที่ดีที่สุดโดยนับจากผลการแข่งขันทั้งหมดที่นักกีฬาร่วมการแข่งขัน ซึ่งรายการแข่งขันทั้งหมดที่จะให้เก็บคะแนนมีดังนี้
- ในรุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี มีการแข่งขันเทนนิสในรายการแม็กกาซีนจูเนียร์ทัวร์ 5 รายการ และ การแข่งขันแม็กกาซีนจูเนียร์ซีรี่ส์ (เอ็นพีซีเทนนิสแชมเปี้ยนชิพส์ 2003 จังหวัดระยอง)
- ในรุ่นอายุไม่เกิน 14 ปี มีการแข่งขันเทนนิสในรายการแม็กกาซีนจูเนียร์ทัวร์ 5 รายการ และ การแข่งขันแม็กกาซีนจูเนียร์ซีรี่ส์ (เอ็นพีซีเทนนิสแชมเปี้ยนชิพส์ 2003 จังหวัดระยอง และ การแข่งขันเทนนิสหาดใหญ่โอเพ่น แข่งขันวันที่ 5-8 เมษายน 2546)

น้องๆ นักเทนนิสอายุไม่เกิน 14 ปี ตามไปเก็บคะแนนได้ที่หาดใหญ่ ส่วนน้องๆ ในรุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี เจอกันที่สนามเทนนิสไนติงเกลรามอินทรากรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 12-17 เมษายน 2546 อย่าพลาด!!! แล้วเจอกันใหม่

ตารางคะแนนสะสมการแข่งขันเทนนิสเยาวชนแม็กกาซีนจูเนียร์ทัวร์ ประจำปี 2546

Dudble


ยุทธการเล่นคู่ ยุทธการเล่นคู่ การช่วยเหลือซึ่งกันและกันของผู้เล่นทั้งสองในการเล่นเทนนิสประเภทคู่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด ทั้งนี้ทั้งนั้นย่อมขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างผู้เล่นทั้งสองคนเป็นพื้นฐานสำคัญ

ลักษณะประการแรกที่จะเป็นพื้นฐานให้ต่างช่วยเหลือกันได้ก็คือ การมีจุดประสงค์ร่วมที่จะพูดจาทำความเข้าใจกันของผู้เล่นทั้งสอง ไม่ว่าจะเป็นก่อนหน้าหรือหลังการแข่งขันก็ตาม สาระที่จะต้องพูดถึงคือยุทธวิธีและกลวิธีที่จะเล่นกับผู้ต่อสู้ โดยต่างฝ่ายต้องพูดกันอย่างเปิดเผยไม่ปิดบัง และรูปแบบการเล่นต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความแข็งแกร่งฝ่ายตน ด้วยจุดอ่อนของฝ่ายตรงข้าม

นอกจากนี้คุณทั้งสองยังต้องรู้จักจุดอ่อนและทิศทางการเล่นของคู่ต่อสู้เป็นอย่างดี และคงจะเป็นความคิดที่ดี ถ้าคุณทั้งสองคนจะมาตกลงในการสับเปลี่ยนวิธีการเล่นเสียบ้าง เพราะไม่เช่นนั้นแล้วคู่ต่อสู้ของคุณก็จะจับทางได้ในไม่ช้า

ก่อนการเล่น คุณทั้งสองควรตกลงกันว่า ใครจะเป็นผู้เสิร์ฟก่อน แน่นอนที่สุดหากฝ่ายคุณเป็นฝ่ายได้เลือกก่อน คุณก็คงจะเลือกเอาเสิร์ฟก่อนมากกว่าเลือกข้างก่อน แม้ว่าในการเล่นเดี่ยวบางครั้ง การเลือกเป็นฝ่ายเสิร์ฟทีหลังอาจได้เปรียบเมื่อคุณคิดว่ามันง่ายเหลือเกินในการเบรคเกมเสิร์ฟแรก แต่สำหรับการเล่นคู่ คุณจะละเลยโอกาสในการเป็นฝ่ายเสิร์ฟก่อนไม่ได้เป็นอันขาด และผู้เล่นที่เสิร์ฟได้ดีกว่าจะต้องเป็นคนเสิร์ฟก่อนเป็นคนแรก

ในขณะการเล่นกำลังดำเนินอยู่นั้น พยายามทำเส้นทางการติดต่อของคุณทั้งสองคนดำเนินไปพร้อมๆกันด้วย ในการที่จะช่วยกันพิจารณาถึงสภาพการเล่น มีโอกาสมากมายซึ่งส่วนใหญ่จะสูญเปล่าปด้วยการหยอกเย้ากันระหว่างคู่กันเองในการเล่นคู่ ควรใช้เวลาเหล่านั้นมาตกลงกันในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเล่น เมื่อการเล่นที่ตกลงกันไว้ในตอนแรกไม่เป็นผล หรือใช้เวลาเหล่านั้นบอกคู่ของคุณเองว่าคุณกำลังจะเปลี่ยนวิธีการเล่นและขอให้ปรับการเล่นให้เข้ากันด้วย

ถ้าคู่ของคุณเป็นผู้เสิร์ฟและกำลังเสิร์ฟ และคุณคิดว่าคุณจะโฉบทำแต้มในลูกนี้ คู่ของคุณก็ต้องพยายามเสิร์ฟให้ดีและบีบให้คู่ต่อสู้ต้องรับลูกกลับมาเป็นไปตามที่คุณคาดการณ์ไว้
ถ้าคุณเป็นผู้รับลูกเสิร์ฟ และก็ตกลงกับคู่ของคุณว่า คุณจะรับลูกเสิร์ฟด้วยโฟร์แฮนด์ขนานเส้นข้างเพื่อหวังผลหากคู่ของผู้เสิร์ฟถลำออกมาหวังโฉบทำแต้ม ซึ่งในกรณีนี้คู่ของคุณต้องเตรียมความพร้อมให้มากขึ้นกว่าปกติ เป็นสิ่งที่เป็นไปได้มากในการที่ผู้เสิร์ฟจะใช้วิธีส่งสัญญาณเป็นรหัสด้วยนิ้วมือโดยซ่อนมือไว้ทางด้านหลังของตนเองเพื่อไม่ให้คู่ต่อสู้เห็น เพื่อบอกกับผู้เสิร์ฟว่าจะโฉบหรือไม่โฉบ เป็นการทำให้ผู้เสิร์ฟสามารถตั้งเป้าหมายของการเสิร์ฟได้ถูกต้องยิ่งขึ้น ปัญหาในการส่งสัญญาณรหัสนิ้วนี้มีอยู่ที่ว่า ผู้ใช้จะรู้ถึงกาละเทศะของการใช้ให้ถูกสถานการณ์และใช้อย่างไรเท่านั้น

ไม่ควรจะส่งสัญญาณรหัสนิ้วมือในขณะจะโฉบ ซึ่งคู่ต่อสู้คงไม่เปิดโอกาสและเวลาให้คุณทำได้ นอกจากนี้คุณก็จะเกิดความเบื่อหน่ายเพราะไม่ได้ผล ทางที่ดีต้องส่งสัญญาณนี้ก่อนที่คู่ของคุณจะลงมือเสิร์ฟ บางครั้งในขณะที่กำลังเดินเปลี่ยนข้างกันนั้น ก็มีเวลาอยู่บ้างที่จะบอกคำแนะนำหรือเทคนิคการเล่นแก่คู่ของคุณเพื่อทำให้ทีมของคุณแข็งแกร่งยิ่งขึ้น คงจะไม่มีเวลามากนักในการที่จะบอกวิธีการเล่นกันอย่างทันทีในการที่จะตัดสินใจเข้าตีลูกที่พุ่งมาตรงกลางระหว่างทั้งสอง แต่ก็สามารถที่จะเรียกขอความช่วยเหลืออย่างสั้นๆถ้าเกิดเหตุกาณ์ฉุกเฉินขึ้น เช่น ที่พบเห็นอยู่เสมอก็มี “ไมน์” หรือ “ยัวร์” ซึ่งหมายความว่าฉันเป็นคนตีเอง หรือ ต้องการให้เธอช่วย เป็นต้น

ถ้าคุณตั้งใจที่จะถอยไปท้ายคอร์ทเพื่อรับลูกโด่งคุณควรจะตะโกนว่า “ถอย” เพื่อให้คู่ของคุณถอยมารวมกับคุณและตั้งแนวรับให้ดี และบอกคำว่า “ครอส” ขณะที่คุณต้องย้ายด้านยืนในตำแหน่งที่อยู่ด้านหลังของคู่ของคุณ เพื่อให้คู่ของคุณรู้ว่า เขาควรจะสลับด้านไปทางไหน

มันเป็นความรู้สึกทั่วไปของผู้เล่นที่จะสร้างความหวังและความไว้วางใจในคู่ของเขาม่ว่าหญิงหรือชาย ดังนั้นถ้าคุณต้องเป็นคู่ของใครก็ตาม ในสถานการณ์ต่างๆ สิ่งที่คุณควรทำก็คือ ทำตัวง่ายๆและเอาใจช่วยในการที่จะเปิดปากพูดอะไรออกมาบ้างหรือ อาจจะส่งสัญญาณบ้างบางครั้ง ในการที่จะทำให้คู่ของคุณตั้งใจเล่นให้ได้ในแต้มต่อไป

การที่จะพูดกันมากๆ โดยการบอกกล่าวแก่กันอย่างพร่ำเพรื่อเพื่อปลอบขวัญหรือเตือนสติกันนั้นอาจไม่ได้ผลหรือยิ่งส่งผลให้เลวร้ายยิ่งขึ้น แต่วิธีการพูดสั้นๆหรือใช้คำพูดเพียงไม่กี่คำ หรือการแสดงออกด้วยทีท่าบางอย่างนั้น จำเป็นอย่างยิ่ง ขอเพียงให้คำพูดสั้นๆนั้นเป็นคำที่หนักแน่นและไว้ใจได้เท่านั้น

กับคู่บางคนนั้น การทำสิ่งที่ตลกขบขันที่สังเกตได้ง่ายๆ นั้นดูจะเป็นสัญญาณการบอกกล่าวได้เป็นอย่างดี เช่น รอล รามิเรซ เทพบุตรเทนนิสเม็กซิโก และ ไบรอัน ก็อตฟรีต์ นักเทนนิสอเมริกันซึ่งเป็นคู่เล่นที่เข้ากันได้ดีคู่หนึ่งในจำนวนนักเทนนิสระดับโลกปัจจุบัน บางครั้งก็หัวเราะใส่คู่ของตนเองถ้าผู้นั้นผิดพลาด ซึ่งเป็นการคลายความตึงเครียด ได้ดีเช่นกันและยังเป็นการดึงคู่ของคุณให้ตื่นขึ้นและเลิกความคิดท้อถอยให้กลับมาตั้งใจเล่นอย่างเดิม สิ่งที่แย่ที่สุดในการเล่นคู่ก็คือ การวิจารณ์หรือต่อว่าคู่ของตนเองออกมาเป็นถ้อยคำในขณะทำการเล่น และบางครั้งก็เป็นการยากเช่นกันในการที่จะหลีกเลี่ยงการพบกับการแสดงออกของคู่ของคุณที่กำลังกระฟัดกระเฟียดและอารมณ์ไม่ดี อย่าพยาบยามทำให้อารมณ์ร้ายของคุณกับคู่ของคุณทวีขึ้นมากๆความจริงแล้วคุณต้องมีความอดทน และต่างต้องพยายามอดทนซึ่งกันและกัน

การให้คำปรึกษาหรือให้ข้อแนะนำในการเล่นนั้น บางครั้งหากไม่รู้จังหวะหรือรอโอกาสเหมาะในการบอกกล่าวก็อาจจะสร้างความขุ่นเคืองให้กับคู่ของตนเองก็ได้ ดังนั้นสำเนียงที่พูดจึงเป็นเรื่องสำคัญ คือพยายามทำให้มันเป็นสำเนียงของการปลอบใจจะทำให้เขามีกำลังใจและเลิกวิตกกังวลกับปัญหาของเขาในที่สุด

แต่คำปรึกษาประเภท “ลูกตาน่ะมองบอลมั่งซิ ! ” คุณอาจจะได้รับคำตอบกลับมาว่า “ให้ตายเถอะ ! คิดว่าฉันกำลังทำอะไรอยู่ล่ะ ? ” หรืออะไรอีกสารพัดในทำนองเดียวกัน และทีนี้สัมพันธ์ภาพ ระหว่างคุณกับคู่ของคุณก็จะค่อยๆจางลงหรือหายวับไปในทันทีก็ย่อมเป็นไปได้ ถ้าคู้ของคุณมีปัญหาในการเสิร์ฟอย่างเดียวเพราะในขณะนั้นคุณเองย่อมต้องเตรียมพร้อมอยู่ที่หน้าเน็ตแล้ว ไม่สามารถที่จะพะวงอยู่กับลักษณะการเสิร์ฟของเขาได้แต่พิจารณาดูได้จากผลการเสิร์ฟของเขาเท่านั้น ถ้าลูกเสิร์ฟติดเน็ตก็แสดงว่าเขาโยนลูกต่ำไปหรือล้ำหน้ามากไป แต่ถ้าลูกเสิร์ฟยาวออกนอกเส้นเสิร์ฟก็หมายความว่าเขาโยนลูกสูงเกินไปและตีล้ำเข้าหาตัวมากเกินไปซึ่งคุณอาจให้คำแนะนำเขาเพียงสั้นๆว่าให้โยนลูกสูงอีกนิดเดียวนะ หรือโยนให้ล้ำหน้าอีกหน่อยน่ะ

ข้อควรระวังอย่างยิ่งคือ อย่าพยายามให้การเล่นคู่ของคุณเถรตรงเป็นไปตามบทเรียน เพราะคู่ของคุณอาจจะปรับตัวให้เข้ากับวิธีการเล่นตามแบบฉบับของคุณไม่ได้ทันทีควรหาคำแนะนำหรือวิธีเล่นที่ง่ายต่อการเข้าใจและปรับตัวให้เล่นได้โดยผู้ที่เล่นเป็นผู้รับฟัง ทั้งนี้ให้ตรงกับเป้าหมายและให้ทำได้โดยไม่ยาก การขอโทษขอโพยกันจนวุ่นวายเกนไปเมื่อคุณเกิดผิดพลาดในการเล่นกับคู่ของคุณที่คิดว่าเขาดีกว่าคุณนั้น เป็นสิ่งที่จำเป็นและดูเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความรำคาญ เพราะทุกคนย่อมเข้าใจดีว่า ต่างก็พยายามทำให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เทนนิสเป็นเกมการเล่นที่มีข้อผิดพลาดง่ายที่สุด ดังนั้นหากจะเล่นเทนนิสก็ต้องลืมคำว่าเสียใจ / น้อยโหน่ง ชัยชนะในการเล่นคู่

หากการแข่งขันประเภทเดี่ยวคือการหักล้างทางสมาธิและกำลัง การเล่นในประเภทคู่จึงเป็นการต่อสู้กันทาง ปัญญา ความว่องไว และความสามารถในการแก้ไขสภาพเกมของแต่ละบุคคล คุณสมบัติของการเล่นคู่โดยทั่วๆไปมักประกอบด้วย การใช้จุดเด่นของตนเข้าแก้จุดด้อย มีพื้นฐานการเล่นที่แน่นอนและมีความสัมพันธ์ในการเล่นระหว่างคู่เล่นเป็นอย่างดี

การเอาชนะคู่ต่อสู้ที่ดีที่สุดคือการรู้จุดด้อยและจุดเด่นของเขา
เราจะรู้ได้อย่างไร ?
นั่นก็ต้องอาศัยความพยายามเล็กน้อย คือ หากรู้ว่าคู่ต่อสู้ฝึกซ้อมที่สนามใดเป็นประจำ ก็ต้องติดตามเฝ้าดูการฝึกซ้อมของเขา พิจารณาดูว่ากราวน์สโตรคของเขาเป็นอย่างไร ? วอลเลย์ดีใหม ? หลอบแน่นอนหรือเปล่า ? ลูกตบเหนือศีรษะเฉียบขาดเพียงใด ? ตลอดจนดูการเสิร์ฟทั้งสองครั้ง การเคลื่อนที่ระหว่างคู่ต่อสู้ทั้งสองคนประสานกันเพียงใด สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดต้องบันทึกไว้และพยายามแยกแยะให้ได้ถึงจุดเด่นและจุดด้อยของคู่ต่อสู้ พิจารณาให้ได้ว่าเขาถนัดหน้าเน็ตหรือท้ายคอร์ท มีคู่ต่อสู้น้อยรายที่เก่งทั้งหน้าเน็ตและท้ายคอร์ท

นอกจากนี้ เราสามารถจะเรียนรู้ถึงทีมเวิร์คของคู่ต่อสู้หลายๆคู่จากการแข่งขันแมทช์ใหญ่ๆต่างๆ แล้วบันทึกไว้ ในขณะที่เฝ้าดูต้องสมมติว่าตนเองเป็นฝ่ายลงแข่งขันเอง พยายามแก้ไขสิ่งที่เขาพลาด และคิดอยู่ตลอดเวลาในการแก้ไขสภาพเกมการเล่น

หากทำได้ ก็ย่อมหมายความว่าเราจะกุมชัยชนะมาอยู่ในกำมือเราแล้วกว่าครึ่งหนึ่ง
การแบ่งแยกและชัยชนะ
คู่ใดที่มีประสบการณ์ในการซ้อมด้วยกันน้อย มักมีข้อบกพร่องทางเทคนิคอยู่เสมอ โดยมากเรามักจะตีลงตรงกลางและบริเวณเส้นเสิร์ฟอยู่เสมอในการเล่นคู่ ดังนั้นความสับสนของทีมเวิร์คเมื่อขึ้นหน้าเน็ตเพื่อวอลเลย์หรือหลอบจะชักนำโอกาสทำแต้มให้ห่างออกไปเรื่อยๆและจะเป็นประโยชน์ต่อคู่ต่อสู้เมื่อถูกนำเอาจุดนี้คอยหาคะแนนและชนะไปในที่สุดหากแก้ไขไม่ตก

เป็นสิ่งที่ดีหากคุณจะพยายามเคลื่อนที่จากตำแหน่งที่รับผิดชอบ เพื่อเข้ารับสถานการณ์ต่างๆในกรณีที่คู่ของคุณต้องโฉบทำแต้มและต้องเคลื่อนตัวถลำออกจากตำแหน่งที่เขาครอบคลุมอยู่ การเคลื่อนที่ของคุณเป็นไปในลักษณะของการเข้าอุดช่องว่างที่เกิดขึ้น พร้อมกันนั้นคู่ของคุณก็จะไม่วกกลับไปตำแหน่งเดิมของเขา หากแต่จะเข้าครอบคลุมในตำแหน่งแทนคุณ

อย่ารู้สึกตะขิดตะขวงใจที่จะตีลูกเข้าใส่ผู้ที่อ่อนกว่าในฝ่ายตรงข้ามเพราะย่อมเป็นธรรมดาของการเล่นที่จะต้องหาทางทำลายคู่ต่อสู้ด้วยการตีเข้าส่ช่องทางที่คิดว่าจะทำแต้มได้ ไม่มีใครเลยที่อยากเอาชนะโดยการเอาปมด้อยของตนไปสู้กับปมเด่น ซึ่งมักจะประสบกับความพ่ายแพ้อย่างแน่นอน หากรู้สึกไม่สบายใจที่จะตีลูกยัดเข้าใส่มือที่อ่อนกว่า ก็เลี่ยงไปตีพาสซิ่งช็อตผ่านเข้าช่องกลางระหว่างคู่ต่อสู้ทั้งสองก็ได้เช่นกัน แต่ก็พึงสังวรณ์ว่าความใจอ่อนในการเล่นนั้นทำให้ต้องฆ่าตัวเองมามากต่มากรายแล้ว

คู่เล่นที่มีทีมเวิร์คดีๆ ก็อาจโชคร้ายได้เช่นกัน เพราะบางครั้งที่เขามั่นใจในลูกที่ตีไป แต่บังเอิญเขาปรานีตมากเกินไปและเสียแต้มในลูกนั้น เขาจะรู้สึกเสียดายและหงุดหงิด ซึ่งอาจจะนำมาสู่การเสียสมาธิได้ ดังนั้นจงระลึกอยู่เสมอว่า อย่าเล่นกับจุดเด่นของคู่ต่อสู้ แต่จงมองหาจุดด้อยและพยายามตักตวงแต้มจากจุดดังกล่าวนี้ให้มากที่สุด เล่นต้านเกม แต่อย่าเล่นตามเกม ผู้เล่นที่มีประสบการณ์น้อยมักมีความตึงเครียดในขณะโต้ตอบลูกกับคู่ต่อสู้อยู่เสมอ หากต้องเผชิญกับคู่ต่อสู้ที่เต็มไปด้วยความว่องไวและชอบเล่นวอลเลย์หน้าเน็ต ดังนั้นเมื่อต้องพบกับคู่ต่อสู้เช่นนี้ อย่าวิตก แต่ให้พยายามตีลูกเลียดเน็ตโดยสติที่มั่นคงไม่ตีหนีมากเกินไปจนลูกออก หรือพยายามบีบให้ลูกเลียดเน็ตมากเกินไปจนติดเน็ตเอง

เมื่อเผชิญกับผู้เล่นที่มีความหนักแน่น เยือกเย็น และมีการเล่นหน้าเน็ตดีเยี่ยม ต้องแก้ไขด้วยการตีให้แรงและเร็วขึ้นโดยตลอดและสม่ำเสมอ อย่าให้คู่ต่อสู้ตั้งตัวติด อาจใช้เทคนิคเล็กน้อยเข้าช่วยเช่นตีฉีกให้คู่ต่อสู้ทั้งสองแยกออกห่างจากกัน แล้วค่อยเลือกทิศทางที่หวังผลได้

หากโชคร้ายที่จะต้องเผชิญกับคู่ต่อสู้ที่มีการเสิร์ฟที่รุนแรง ลูกตบที่เด็ดขาด และการบุกหน้าเน็ตที่ดีเยี่ยมเราต้องพยายาม ควบคุมอารมณ์ให้เต็มที่อย่าเล่นเกมของเขาเป็นอันขาดพยายามลดความเร็วของลูกลงด้วยการตีตัดเฉือนใต้ลูกใช้อันเดอร์สปินให้มากๆซึ่งจะทำให้คู่ต่อสู้พบกับความลำบากในการโต้ตีกลับมา ในกรณีของการโต้ลูกเสิร์ฟที่หนักหน่วง หากเป็นไปได้ควรสไล้ซ์ครอสคอร์ทดีกว่าโต้ตรงๆกลับไป เพราะผู้เสิร์ฟจะต้องวิ่งขึ้นมารับลูกในตำแหน่งที่หากจากคู่ของเขา ทำให้ช่องว่างของฝ่ายตรงข้ามเกิดขึ้น และระยะวิ่งของลูกที่ยาวกว่าการโต้กลับตรงๆจะทำให้เรามีเวลามากขึ้น เกมการเล่นจะพลิกกลับเป็นช้าตามที่ต้องการ

ในกรณีที่คู่ต่อสู้ขึ้นมายืนปักหลักอยู่ที่หน้าเน็ตทั้งคู่ และต่างก็มีลูกตบที่เด็ดขาด เราควรหลอบลึกท้านคอร์ทโดยการใส่สปินให้มากๆหรือไม่ก็ตีพาสซิ่งช็อทวางปีก หรือพยายามท้อปสปินลงเท้าของคู่ต่อสู้

หากพบกับคู่ต่อสู้ที่มีลูกท้ายคอร์ทเหนียวแน่นและปักหลักอยู่ที่เส้นท้านคอร์ท ควรยิงลูกฉีกออกข้างคอร์ทเพื่อบีบคู่ต่อสู้ให้วิ่งออกไปรับลูกนอกคอร์ทมากๆ และจะทำให้มีช่องโหว่เกิดขึ้น แต่หากว่า เรามั่นใจพอต่อการตีกราวน์สโตรคของเราเองว่าเหนือกว่าคู่ต่อสู้ ก็อาจเลือกวิธีปักหลักโต้ลูกกับเขาที่ท้ายคอร์ทก็ได้ แต่นั่นมันหมายถึงการยืดเยื้อและน่าเบื่อหน่ายทีเดียว

เมื่อคู่ของเราทำให้เสียแต้มไปด้วยความประมาท อย่าเพิ่งแสดงอาการฉุนเฉียวดุด่าตำหนิเขาออกมาในทันทีทันใดเพราะในขณะนั้นเขาก็ต้องสำนึกเสียใจอยู่แล้วเมื่อทำเสียแต้ม หากยิ่งโดนตำหนิซ้ำเติมเข้าอีก เขาอาจจะยิ่งท้อแท้มากขึ้น และอาจพาลหมดกำลังใจเอาดื้อๆทำให้พลาดไปจนตลอดเกม ควรกระตุ้นเขาให้ควบคุมสมาธิให้ดีเพื่อเพชิญปัญหารอบด้านอย่างมั่นคง หลีกจุดอ่อน เล่นจุดด้อย

ถ้าท่านโชคดีน้อยหน่อย ต้องทำการแข่งขันกับคู่ต่อสู้ที่มีท้อปสปินแรงและลูกกระดอนสูง ไม่สมควรที่จะไปโต้ลูกที่เขาถนัด เราต้องเพิ่มสมาธิในการกำหนดจังหวะกระดอนลูกมากขึ้น ตาจับมองอยู่ที่ลูกอยู่ตลอดเวลาเพราะการตีลูกพลาดจากใจกลางหน้าไม้จะทำให้เสียแต้มได้ง่ายขึ้น หรือวอลเลย์ลูกพลาดจนเสียแต้ม

ในการเสิร์ฟต้องมั่นใจว่าลงมุมแบ็คแฮนด์ ซึ่งเป็นจุดอ่อนของคู่ต่อสู้มันเป็นการง่ายที่จะบีบลูกเสิร์ฟแรกให้ลงทางด้านแบ็คแฮนด์ หากเรารู้ถึงการบิดหน้าไม้เล็กน้อยในการเสิร์ฟแบบแฟล็ตและทวิสต์ ท่านต้องฝึกให้ลูกกระทบหน้าไม้เร็วขึ้นและล้ำหน้าตนเอง เพื่อช่วยเพิ่มน้ำหนักในการเสิร์ฟและเพิ่มสปินให้กับลูกเสิร์ฟ การใช้หัวไหล่กับการรู้จักโถมน้ำหนักตัวช่วยในการเสิร์ฟ จะทำให้ลูกเสิร์ฟมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ในการเสิร์ฟคอร์ทที่สอง(ทางด้านขวามือของผู้ที่เสิร์ฟ) ไม่เป็นการยากเลยที่จะเสิร์ฟให้ลงทางด้านแบ็คแฮนด์(ในกรณีทั่วๆไปที่ต่างก็ถนัดขวา) หากผู้เสิร์ฟเลือกยืนในตำแหน่งที่ชิดเส้นข้าง แต่ถ้าคู่ต่อสู้ถนัดซ้าย ผู้เสิร์ฟก็เลือกยืนในตำแหน่งที่เกือบชิดเซ็นเตอร์มาร์ค หากพบกับคู่ต่อสู้ที่รับลูกเสิร์ฟได้ดีเยี่ยม เราต้องพยายามเปลี่ยนรูปแบบการเสิร์ฟอยู่เสมอ ใช้เทคนิคในการเสิร์ฟลูกต่างๆสลับกันไป เพื่อป้องกันไม่ให้คู่ต่อสู้จับจุดได้ในการรับลูกเสิร์ฟ อย่าใช้ลูกหลอบกับคู่ต่อสู้ที่มีการตบลูกเหนือศีรษะได้รุนแรงแน่นอน ยกเว้นในภาวะที่จวนตัวและจำเป็น อย่าพยายามตีลูกจี้เข้าหาผู้ที่เล่นวอลเลย์หน้าเน็ตได้คล่องแคล่ว เพราะเท่ากับการส่งเนื้อเข้าปากเสือนั่นเอง

เราจะก่อกวนสมาธิของคู่ต่อสู้ที่มีลูกเสิร์ฟแน่นอนได้โดยเคลื่อนย้ายตำแหน่งที่ยืนรับอยู่เรื่อยๆบางครั้งก็ถอยหลังห่างออกจากเส้นท้ายคอร์ทสัก 1 หลา บางทีก็ก้าวขึ้นไปยืนจนเกือบถึงเส้นเสิร์ฟเพื่อเข้าตีในลักษณะไร้ซิ่งบอล การกระทำแบบนี้จะทำให้ผู้เสิร์ฟยุ่งยากในการตัดสินใจเลือกรูปแบบการเสิร์ฟ และทำให้เกิดความหงุดหงิดเสียสมาธิได้ง่าย

หากพบกับคู่ต่อสู้ที่มีการเสิร์ฟสไล้ซ์ฉีกข้างมากๆ ต้องตัดสินใจก้าวก้าวเข้ามารับลูกในคอร์ทอีกเล็กน้อยเพื่อให้เข้าถึงลูกเร็วกว่าปกติก่อนที่ลูกจะหักเหเบี่ยงออกไปตามมุมกระดอน แต่ถ้าสามารถทำได้และต้องวิ่งออกไปรับนอกคอร์ทเสิร์ฟ ช่องโหว่ตรงกลางระหว่างคุณทั้งสองจะมีมากขึ้นทีเดียว

ลูกเสิร์ฟที่รุนแรงและอเมริกันทวิสต์ มักเป็นลูกที่รับยาก แต่จะไม่ยากอีกต่อไปหากรู้เทคนิคในการรับเมื่อคู่ต่อสู้โยนลูกเลยศีรษะไปทางด้านหลังเล็กน้อย เราต้องคอยโต้ลูกที่กระดอนสูงเข้าทางด้านแบ็คแฮนด์ให้ดี (ในกรณีที่ต่างก็ถนัดขวา) หากเราเตรียมตัวไม่พร้อมหรือยืนรับผิดตำแหน่ง ก็อาจตีลูกไม่ทันหรือตอบโต้เบาเกินไปดังนั้นประการที่สำคัญก็คือ เมื่อเห็นลูกกระทบพื้นที่จุดใดให้รีบก้าวเข้าหาลูกทันที

การเสิร์ฟแบบอเมริกันทวิสต์มักนิยมเสิร์ฟในคอร์ทซ้ายมากกว่า(คอร์ททางซ้ายมือของผู้รับ) เพราะจะบีบให้ผู้รับต้องวิ่งออกไปรับลูกนอกคอร์ทด้วยแบ็คแฮนด์ อย่างไรก็ตามการเสิร์ฟแบบอเมริกันทวิสต์ใช้ได้ดีไม่ว่าจะเป็นคอร์ทเสิร์ฟด้านใด

เปลี่ยนกลวิธี

ปกติรูปแบบการเล่นคู่มักแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ การเป็นฝ่ายรุกและการเป็นฝ่ายรับ จึงไม่ยากเลยที่จะเรียนรู้และนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ นักเทนนิสมืออาชีพมักเล่นตามรูปแบบดังกล่าวนี้เสมอ แต่นักเทนนิสระดับสโมสรมักไม่นิยมใช้หรือนำมาใช้ไม่ถูกกับสถานการณ์ ซึ่งความจริงหากแต่ละคนสนใจและเอาใจใส่ในการศึกษาให้เข้าใจอย่างจริงจังก็จะประสบกับความสำเร็จในการแข่งขันมากขึ้น

เมื่อเป็นฝ่ายเสิร์ฟและต้องเผชิญกับผู้ที่รับลูกได้เฉียบขาดด้วยการโต้ครอสคอร์ทกลับมา ซึ่งฝ่ายเสิร์ฟแทนที่จะเป็นฝ่ายรุกกลับต้องเป็นฝ่ายรับไปอย่างน่าเสียดาย มีวิธีการที่จะช่วยให้ฝ่ายเสิร์ฟนั้นพ้นจากสภาพการณ์เสียเปรียบได้ นั่นคือวิธีการตั้งรับเพื่อรุกแบบ I – Formation หรือเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นยุทธวิธีแบบออสเตรเลียนแต่ที่มักจะใช้คำว่า I – Formation เพราะมีความหมายตรงตัวเพราะผู้เสิร์ฟกับคู่ของผู้เสิร์ฟยืนอยู่ด้านเดียวกันเป็นแนวตรงและยืนชิดเส้นแบ่งครึ่งคอร์ทเสิร์ฟและเซ็นเตอร์มาร์ค

ด้วยวิธีการยืนเช่นนี้ จะทำให้ผู้รับซึ่งโต้กลับด้วยลูกครอสคอร์ทที่เฉียบขาดไม่กล้าจะตีโต้ลูกในลักษณะที่ตนถนัด เนื่องจากคู่ของผู้เสิร์ฟยืนดักเฝ้ารออยู่แล้วที่จะวอลเลย์กลับไปดังนั้น จึงเป็นการบีบให้ต้องตีกลับมาในลักษณะขนานเส้นข้าง ซึ่งผู้เสิร์ฟจะเป็นผู้วิ่งขึ้นไปรอดักลูกอยู่ แต่ถ้าฝ่ายเสิร์ฟคำนวณดูแน่ใจว่าผู้รับจะต้องรับกลับมาในลักษณะขนานเส้นข้าง บางทีผู้ยืนหน้าเน็ตของฝ่ายเสิร์ฟอาจจะตัดสินใจเข้าโฉบทำแต้มก็ได้ การตั้งรูปแบบ I – Formation สามารถนำมาใช้กับผู้รับที่หลอบได้เก่งๆอีกด้วย เพราะฝ่ายเสิร์ฟมีโอกาสตั้งหลักหาเป้าหมายในการเลือกตบลูกลงยังฝ่ายตรงข้ามได้มากขึ้น

แต่เมื่อฝ่ายตรงข้ามเป็นฝ่ายได้เปรียบในสถานการณ์นั้น เช่นเราต้องเป็นฝ่ายรับลูกเสิร์ฟที่รุนแรงและแก้ไขไม่ทัน หรือฝ่ายตรงข้ามมีการรุกขึ้นหน้าเน็ตที่ประสานงานกันดีและไม่มีช่องโหว่ เราอาจจะต้องถอยลงหลังทั้งคู่เพื่อประวิงเวลาและดึงเกมให้ช้าลงจากนั้นจึงค่อยหาหนทางทำแต้มด้วยการเปลี่ยนรูปแบบการตีไปเรื่อยๆหรือพยายามหลอบลึกบีบให้คู่ต่อสู้ต้องถอยลงเพื่อให้เรามีโอกาสเป็นฝ่ายบุกบ้างและพยายามทะแต้มให้ได้อย่างรวดเร็วเพื่อถนอมกำลังไว้สำหรับการเล่นในแต้มต่อไป...

บทความโดย : เบ็ญจ์ - จิตตภาวดี

วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

serve

ข้อผิดพลาดทั่วไปในการเสิร์ฟ

หลังจากที่ผู้เล่นเรียนรู้การเสิร์ฟได้สักระยะ มีผู้เล่นจำนวนมากที่ทำผิดพลาดบางประการอย่างไม่ตั้งใจในการเสิร์ฟ

1. ไม่ปรับเปลี่ยนตำแหน่งร่างกาย เมื่อเสิร์ฟคอร์ตทางซ้าย
ผู้เล่นจำนวนมากยืนเสิร์ฟ โดยไม่ปรับเปลี่ยนตำแหน่งร่างกายและเท้า ไม่ว่าจะเสิร์ฟทางคอร์ตซ้ายหรือคอร์ตขวา
ยกตัวอย่างเช่น ผู้เล่นที่เสิร์ฟสไลด์ทางคอร์ตขวาได้ดี
เมื่อมาเสิร์ฟทางคอร์ตซ้ายกลับเสิร์ฟไปผิดคอร์ต
เนื่องจากไม่ปรับเปลี่ยนมุมในการยืนทั้งร่ายกาย และปลายเท้า
ยิ่งไปกว่านั้นผู้เล่นบางคนใช้วิธีบังคับทิศทางเมื่อต้องเสิร์ฟในคอร์ตซ้าย
โดยการสะบัดข้อมือให้ไม้กระทบบอลเร็วขึ้นกว่าการเสิร์ฟในคอร์ตขวา
ผลก็คือทำให้ลูกเสิร์ฟค่อนข้างแฟลต
และที่สำคัญวงสวิงในการเสิร์ฟฝั่งซ้ายและฝั่งขวามือของผู้เล่นคนนั้นจะไม่เหมือนกัน
ทำให้ความแน่นอนในการเสริฟลดลง
คำแนะนำ

การยืนเสริฟ ให้ยืนโดยวางมุมของเท้าที่อยู่ด้านหน้าทำมุมประมาณ 45องศา กับเส้นท้ายคอร์ท
และให้ชี้ปลายเท้าไปยังคอร์ทฝั่งที่จะเสริฟ จะทำให้การเสริฟผิดพลาดน้อยลง


2. เปลี่ยนกริปกลางคัน
ผู้เล่นส่วนมากเริ่มต้นเรียนการเสิร์ฟด้วย Eastern Forehand เหมือนแบฝ่ามือผลักลูกบอลไปข้างหน้าตรงๆ
ทำให้เมื่อต้องปรับมาใช้กริป Continental สำหรับการเสิร์ฟในระดับที่พัฒนามากขึ้น
ผู้เล่นหลายคนเริ่มโยนบอลและเสิร์ฟด้วยกริป Continental ตามที่ฝึกใหม่
แต่พอจบวงสวิง ปรากฏว่ากริปที่จับกลายเป็น Eastern Forehand ซึ่งเป็นกริปที่รู้สึกคุ้นเคยมาแต่เดิม
การฝึกเสริมทด้วย การจับกริป Eastern Forehand ในการเสิร์ฟ
ทำให้มีปัญหาในการเร่งความเร็วหน้าไม้ และไม่สามารถเพิ่มพลังในการเสิร์ฟ
รวมถึงความคงเส้นคงวาก็จะไม่เท่า Continental เมื่อใช้อย่างถูกวิธี
คำแนะนำ

ควรจับกริปให้ถูกวิธี และจบลงอย่างถูกวิธี
และสำหรับท่านที่กำลังเปลี่ยนกริป
ขอให้เชื่อมั่นว่ากริป Continental จะส่งผลดีในวันข้างหน้า
แม้ว่าวันที่กำลังหัดอยู่นี้จะเสริฟได้ไม่ดีนัก
แต่โค้ชจะค่อยปรับแต่งจนดีได้ในที่สุด ซึ่งอาจต้องใช้เวลาสักหน่อย

3. กริปที่มีปัญหาสำหรับการเสิร์ฟคือ Eastern Forehand
กริปที่ผู้เล่นหัดใหม่ และครูสอนหลายคนมักสอนลูกศิษย์ในการเสิร์ฟคือ Eastern Forehand
ซึ่งจะเป็นปัญหาในระยะยาว
จริงอยู่ที่ว่า Eastern Forehand เป็นกริปที่ผู้เล่นหัดใหม่มักเลือกใช้ในการเสิร์ฟ
เพราะง่าย และให้ความรู้สึกมั่นคง
แต่เมื่อผู้เล่นต้องการพัฒนาการเสิร์ฟไปอีกขั้น จะทำได้ลำบากมาก
เนื่องจากการใช้ Eastern Forehand ในการเสิร์ฟมีข้อจำกัดคือ
- Eastern Forehand ทำให้ผู้เล่นต้องหันหน้าเข้าหาเน็ตแทนที่จะเป็นหันข้างลำตัวให้เน็ต
- จุดกระทบลูกของ Eastern Forehand มือและข้อศอกไปก่อนหน้าไม้เทนนิส แทนที่จะตามหลังไม้เทนนิส
- แขนจะทำหน้าที่กดไม้ลง เพื่อช่วยในการตีบอล ทำให้ไม่สามารถตีลูกได้แรง
- หน้าไม้จะเช็ดที่หลังบอลแทนที่จะปาดจากซ้ายไปขวา หรือจากล่างขึ้นบน
คำแนะนำ

ถามตัวเองก่อนว่า อยากมีลูกเสริฟที่พอใช้ได้ในวันนี้
และถูกผู้รับโจมตีอย่างหนักหน่วงได้ในวันหน้า
หรืออยากมีลูกเสริฟที่พัฒนาได้ดีต่อไปในวันนี้และวันหน้า
แล้วเริ่มให้โอกาสตัวเองฝึกวิธีที่ถูกเสียแต่วันนี้
ไม่มีวิธีอื่นที่จะช่วยได้ นอกจากเราลงมือ "ทำถูก"เสียแต่วันนี้


4. การใช้เท้าหลังก้าวนำเข้าไป
หลายคนใช้เท้าหลัง หรือเท้าขวา (สำหรับคนถนัดขวา) ก้าวนำเข้าไปในคอร์ต
การทำเช่นนี้จะทำให้ทั้งสะโพก และหัวไหล่ หมุนไปก่อนจังหวะที่ไม้จะปะทะบอล
ทำให้จุดที่หน้าไม้ควรจะสัมผัสกับบอล (contact point) หรือปาดที่ลูกบอลเพื่อให้เกิดสปิน เป็นไปได้ยาก
ผู้ที่มีฟุตเวิร์คแบบนี้มักจะลงเอยด้วยการเสิร์ฟบอลแฟลตเกินไป หรือถ้าเสิร์ฟสไลด์ ก็มักจะสไลด์ไปได้ด้านเดียวเท่านั้น
คำแนะนำ

ผมให้ลูกศิษย์ที่ทำแบบนี้ ยืนที่เส้นเสริฟ แล้วกระโดดลอยตัว
พร้อมกับก้าวเท้าซ้าย(กรณีถนัดขวา)เข้าไปยืนในคอร์ทด้วยเท้าซ้ายเพียงข้างเดียว
และทรงตัวอยู่สักสองสามวินาที
ทำเช่นนี้ก่อนเสริมสัก 10-15 ครั้ง แล้วค่อยให้เสิรฟจริง
พบว่าช่วยแก้ไขปัญหาข้อ 4 นี้ได้ดีทีเดียว
ลองดูภาพข้างนี้
โดยเฉพาะภาพสุดท้าย
แล้วจะเข้าใจมากขึ้นครับ


วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

http://www.5min.com/Video/More-on-Improving-Your-Serve-in-Tennis-27821784

<div style='text-align:center'>
<object width='560' height='450' id='FiveminPlayer' classid='clsid:d27cdb6e-ae6d-11cf-96b8-444553540000'>
<param name='allowfullscreen' value='true'/>
<param name='allowScriptAccess' value='always'/>
<param name='movie' value='http://embed.5min.com/27821784/'/>
<param name='wmode' value='window' />
<embed name='FiveminPlayer' src='http://embed.5min.com/27821784/' type='application/x-shockwave-flash' width='560' height='450' allowfullscreen='true' allowScriptAccess='always' wmode='window'>
</embed>
</object>
<br/><span style='font-family: Verdana; font-size: 10px;'>More <a href='http://www.5min.com' target='_blank'>DIY videos</a> at 5min.com</span>
</div>
http://www.5min.com/Video/More-on-Improving-Your-Serve-in-Tennis-27821784
<object width="480" height="385"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/WRUs6BCIXs4?fs=1&amp;hl=en_US"></param><param name="allowFullScreen" value="true"></param><param name="allowscriptaccess" value="always"></param><embed src="http://www.youtube.com/v/WRUs6BCIXs4?fs=1&amp;hl=en_US" type="application/x-shockwave-flash" allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true" width="480" height="385"></embed></object>
http://www.youtube.com/watch?v=WRUs6BCIXs4

http://www.mademan.com/mm/how-do-bas-rutten-mma-workout.html

How To Do The Bas Rutten MMA Workout

By: BWalter
Break Studios Contributing Writer
If you're thinking about jumping into a mixed martial arts competition, then you should learn how to do the Bas Rutten MMA workout. Bas Rutten takes a rather common sense approach to building and conditioning his muscles for an MMA competition. In essence, Bas Rutten works his muscles out in the exact fashion as he'll be using them in the ring. He doesn't use any wasted motion what so ever in his MMA workouts. Because Bas Rutten is a profesional fighter, he's developed more than one MMA workout. The Bas Rutten workout discussed here is just for conditioning your muscles. You know, getting them ready for fighting in the ring. Developing your actual fighting techniques will be totally up to you. As always, talk to doctors before beginning your MMA workout routine. You may as well talk to funeral homes too, especially if you plan on jumping into the ring with those crazy MMA dudes.
  1. Chest press. You've undoubtedly seen those machine chess presses in the gym. Well, Bas Rutten uses these machines to condition his arms for throwing powerful blows in the ring. Grip the handles as if you're going to be throwing a punch. You'll notice that Bas Rutten works fast. So should you. Start out with a manageable weight. Work your butt off until you can eventually increase the weights. Anyway, push the chess press like you're throwing quick punches. After you finish the press, throw a few punches. You feel how light your arms feel? Over time, you'll be throwing some thunderous blows.
  2. The seated tricep extension. Once again, Bas Rutten isn't going through the motions slowly. He's really pushing himself to hit those weights. Just like the chess press, you want to grip the seated tricep extension in the same way that you'll be pulling off a hammer strike on an opponent. Luckily, there's only one way to hold a seated tricep extension. Keep your elbows planted on the supporting plank and push away. Start out with lower weights and increase them as they become too easy.
  3. Bicep curls. There's no surprise here either. Do your bicep curls with with fury. Simple as that. Doing the motions at a quick pace promote quicker movements in the ring. Slow attacks will get you no where but the mat. Hit the curls as hard as you can with a steady, yet quick pace. Increase the weight progressively.
  4. The seated row. This particular machine gets your triceps, rear deltoids and upper back all Hulk-like. You can easily understand why you want your back, i.e. your core to be strong in the ring. As always, hit the row at a furious pace. Once the weights become easy, start to increase them.
  5. Dips. This is another way to work out your back and triceps. You're using nothing but your triceps to lower and lift your body. Do them quickly. This promotes quicker punches and a stronger set of shoulders and upper back.
  6. Leg lifts. It's all about your core baby. This pain in the ass maneuver gets your abs rocking. Turn around on the dip machine. Push you back against the mat. Use your arms to balance. Lift your knees to your chest. Once you can do those easily, try extending your legs in front of you. Use your lower abs to pull your legs upward while keeping them extended. This is not an easy move.
  7. Alternating dumbbell lifts. These are also for building your shoulders and biceps. Curl one up towards you chest while the other one lays still. When you lower one arm, raise the other upward in a curl motion. Remember to hit these as hard and as furious as possible. Increase the weights as they become too easy.

How To Make Tennis Elbow Braces

By: BWalter
Break Studios Contributing Writer
Learning how to make tennis elbow braces is relatively simple. Tennis elbow is the condition where the joints and connective tissue near the elbow become enflamed because of a tear or irritation. The key to making a proper tennis elbow brace is to make sure you provide adequate support for the damaged area near the elbow. The easiest way to support your elbow is simply to buy a tennis elbow brace from any sporting goods store, but you don't want to do simple, do you? You want to make our own tennis elbow brace.
What you need:
  • 2 ACE bandages
  • Cotton gauze
  • Shoe string
  • Tape
  • A friend
  1. The cotton gauze. You're going to need help to make your tennis elbow brace. The first thing you need to do is position your elbow so that it's in the least amount of pain. Have your buddy position a nice amount of cotton gauze around the elbow. Make sure to leave an opening for the elbow to breathe. Basically, you'll be surrounding the elbow on all sides with a lot of cotton gauze. Put some of the cotton gauze on the fold in your arm opposite the elbow. Lightly tape the gauze into place.
  2. The ACE bandage. Wrap your arm from about mid-forearm to mid-bicep with the first ACE bandage. Remember to leave an opening for the elbow to stick out of the wrapping. It's also important not to wrap your arm to tightly or you'll cut off your circulation. Wrap the second ACE bandage around your arm, concentrating more on the damaged area of your arm near the elbow. Don't wrap this too tight either. Use the little metal fasteners to keep the bandages in place.
  3. The shoe string. Here's the last step to your tennis elbow brace. Wrap the shoe string around your neck and around your forearm to support your arm. Adjust the shoe string so your arm is comfortable. Make sure the string doesn't dig into your neck or arm too much by padding the string with cotton gauze and tape. 
http://www.mademan.com/mm/how-make-tennis-elbow-braces.html

How To Toss A Ball When Serving In Tennis

By: BWalter
Break Studios Contributing Writer
Learning how to toss a ball when serving in tennis is essential to making a successful serve. The keys to tossing a tennis ball when serving are timing and ball placement. If you toss the ball too low, you're going to short arm your swing, causing the ball to hit the net. If you toss a ball when you're serving and it's too high, you run the risk of missing it altogether or hitting the ball with terrible accuracy. Without the ability to toss a ball correctly when serving in a game of tennis, you have no chance of winning the match. So, let's get it going. Let's learn how to toss a ball when serving in tennis.
  1. Work on your stance. Before you can begin to worry about tossing the ball when serving, you need to know how to position yourself to best hit the ball after the toss. Your legs need to be shoulder-width apart. Your body should be angled so that your tossing hand is forward while the hand you're going to hit the ball with is in the back. Your lead foot should be pointing towards the net and slightly bent. Your other leg, which is under your hitting arm and hand, should be just slightly relaxed with your foot facing away from your body.
  2. Practice your swing. Tossing the ball when serving will mean absolutely nothing if you don't know the radius of your swing. Practice your swing. Pay attention to how high your racket goes when you swing it overhand. You're going to need to toss the ball as high as the middle area of your racket's netting. Don't be shy with it. Practice your swing like you're really trying to serve in a tennis match.
  3. Toss the ball. Now that you know how high you need to toss the tennis ball when serving in an actual tennis match, it's just a matter of practicing with an actual ball. So, practice tossing a ball and serving it. It'll take a little time to perfect your toss, but you'll get it with some practice. The more you practice, the more your toss will seem like second nature. Then you can worry about tougher aspects of the game, like chasing down your opponent's serves.
http://www.mademan.com/mm/how-toss-ball-when-serving-tennis.html

How To Hit A Slice Serve In Tennis

How To Hit A Slice Serve In Tennis

By: Alfonzo Moore
Break Studios Contributing Writer
Learning how to hit a slice serve in tennis can be a lot of fun. Typically, a slice serve is use for a second serve in tennis. This serve is not as difficult to learn, so that makes it a good choice for the second serve.
  1. Change the grip and you will change the serve. It is not necessary to vary your grip when hitting different types of serves. If you do change your grip it will make hitting the slice serve much easier. If you want to hit a good slice serve in tennis you may want to change your grip. The grip you should use for the slice serve is a continental grip. This grip will make hitting your slice serve more natural.
  2. Change the ball toss. To hit a slice serve in tennis you will need to change your ball toss. Toss the tennis ball in front of you, make sure to keep your balance. Also, the ball toss needs to be a little to the right.
  3. Imagine that the tennis ball is a clock. Look at the tennis ball like a basic clock. Imagine hitting the tennis ball from left to right. On a clock that would translate to from 9 to 3. You should always hit the ball this way when hitting a slice serve.
  4. Use your body.  After you toss the tennis ball and begin to strike continue moving forward. Make sure that you completely follow threw. Remember to keep your balance. If you practice these slice serve tennis tips. Your slice serve will become effective very soon.
http://www.mademan.com/mm/how-hit-slice-serve-tennis.html

5 Soft Tennis Ball Drills

5 Soft Tennis Ball Drills

By: Lisa Devoto
Break Studios Contributing Writer
These 5 soft tennis ball drills can help improve a player's skills. Soft tennis is a version of traditional tennis that is very popular in Asia, and has spread to Europe. Soft tennis differs from tennis in that the ball used is a soft rubber ball instead of a hard yellow rubber ball. Tennis ball drills should include all aspects of play, because play at the net is much different from play at the back of the court.
What is needed for tennis ball drills:
  • At least two people
  • Two racquets
  • Several soft tennis balls
  • A tennis court
  • A ball machine/ball feeder (optional)
  1. Start at the back of the court, move to the center, and end at the net, all the while hitting soft tennis balls. If you have a tennis ball machine, set it up in such a way so that the balls can reach the back of the court. You or a friend should also set it up to quickly pump out balls so that another ball will be coming as you run to the center of the court and toward the net. If you are doing ball drills with a friend, have her or him hit balls in quick succession so that you get used to the speed. This drill promotes movement on the court and lets players practice different aspects of the game; it is especially good for groups.
  2. For a variant on the first drill, both players can rally while practicing moving from the back of the court to the net. Instead of only one player doing the drill, both players can start at the baseline, rally back and forth, and slowly move toward the net for volleys. Two of the most important parts of tennis are foot work and putting pressure on an opponent, and this drill allows players to practice both aspects of the game.
  3. Have a friend send up high lobs. Lobs are one of the most difficult shots to hit in the game, so it is important to incorporate lobbing ball drills. A ball machine can't be set up to throw balls up high, so this drill is where a friend really comes in handy. Your friend should hit balls very high up while you are up at the net or in the center of the court. Then you must move toward the back of the court and return the lob. Ball drills like this help both with footwork and hand-eye coordination.
  4. Play to "ten in a row" at the net and ten at the baseline, then repeat. If you are playing with only one other person, practice with your partner. Otherwise, players can pair up. Simply hit the ball back and forth at the net until you reach ten volleys in a row. Then move to the back of the court (baseline) and try to rally ten back and forth. Move back to the net when you have rallied ten times in a row. Ball drills like these promote accuracy.
  5. Volley gently back and forth across the net. Both players stand at the net with rackets out at an angle, and volley the ball with a very gentle touch. Ball drills like these are very simple, but they improve hand-eye coordination and confidence.
Tennis ball drills allow players to focus on areas where they need practice. While ball machines can help, all that is really needed for ball drills is two tennis players who will work to help each other improve.
Posted on: Jul. 05, 2010